ReadyPlanet.com
dot
dot
ประวัติศาสตร์ของชนชาติอ้ายไต ยุคโบราณ ก่อน พ.ศ.-พ.ศ.๑๙๕๕
dot
dot
ประวัติศาสตร์เมืองไชยา คันธุลีและนครศรีธรรมราช
dot
bulletคำนำ
bulletบทที่ ๑ เมืองไชยา สมัยชื่อ เมืองมิถิลา
bulletบทที่ ๒ เมืองไชยา สมัย พระเจ้าสุมิตร ปกครองเมืองโกสมพี
bulletบทที่-๓ เมืองโกสมพี(ไชยา) สมัย สหราชอาณาจักรเทียน
bulletบทที่ ๔ เมืองไชยา สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน ชื่อ เมืองจิวจิ
bulletบทที่ ๕ เมืองจิวจิ(ไชยา) สมัย ราชวงศ์ขุนเทียน ถูกทมิฬโจฬะ ยึดครอง
bulletบทที่ ๖ เมืองไชยา สมัยราชวงศ์เทียนเสน เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองกิ่งดาว
bulletบทที่ ๗ เมืองไชยา สมัย ราชวงศ์โคตะมะ เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองศรีโพธิ์
bulletบทที่ ๘ เมืองคันธุลี สมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี
bulletบทที่ ๙ เมืองไชยา สมัยราชวงศ์หยาง-โคตมะ
bulletบทที่ ๑๐ เมืองไชยา สมัย ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก
bulletบทที่ ๑๑ เมืองไชยา สมัยราชวงศ์อู่ทอง
bulletบทที่ ๑๒ เมืองไชยา สมัย ท้าวอู่ทอง หนีภัยสงครามแย่งม้า มาที่เมืองศรีโพธิ์
bulletบทที่ ๑๓ เมืองไชยา สมัยชื่อ เมืองศรีโพธิ์-อู่ทอง
bulletบทที่ ๑๔ เมืองไชยา สมัย ตอนปลายของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
bulletบทที่ ๑๕
bulletบทที่ ๑๖
bulletบทที่ ๑๗
bulletบทที่ ๑๘
bulletบทที่ ๑๙
bulletบทที่ ๒๐
bulletบทที่ ๒๑
bulletบทที่ ๒๒
bulletบทที่ ๒๓
bulletบทที่ ๒๔
bulletบทที่ ๒๕
bulletบทที่ ๒๖
bulletบทที่ ๒๗
bulletบทที่ ๒๘
bulletบทที่ ๒๙
bulletบทที่ ๓๐
bulletบทที่ ๓๑
bulletบทที่ ๓๒
bulletบทที่ ๓๓
bulletบทที่ ๓๔
bulletบทที่ ๓๕
bulletบทที่ ๓๖
bulletบทที่ ๓๗
bulletบทที่ ๓๘
bulletบทที่ ๓๙
bulletบทที่ ๔๐
bulletบทที่ ๔๑
bulletบทที่ ๔๒
bulletบทที่ ๔๓
bulletบทที่ ๔๔
bulletบทที่ ๔๕
bulletบทที่ ๔๖
bulletบทที่ ๔๗
bulletบทที่ ๔๘
bulletบทที่ ๔๙
bulletบทที ๕๐
bulletบทที่ ๕๑
bulletบทที่ ๕๒
bulletบทที่ ๕๓
bulletบทที่ ๕๔
bulletบทที่ ๕๕
bulletบทที่ ๕๖
bulletบทที่ ๕๗
bulletบทที่ ๕๘
bulletบทที่ ๕๙
bulletบทที่ ๖๐
bulletบทที่ ๖๑
bulletบทที่ ๖๒
bulletบทที่ ๖๓
bulletบทที่ ๖๔
bulletบทที่ ๖๕
bulletบทที่ ๖๖
bulletบทที่ ๖๗
bulletบทที่ ๖๘
bulletบทที่ ๖๙
bulletบทที่ ๗๐
bulletบทที่ ๗๑
bulletบทที่ ๗๒
bulletบทที่ ๗๓
bulletบทที่ ๗๔
dot

dot


พระศรีธรรมโศกราช
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง
แบนเนอร์ตัวอย่าง


บทที่ ๔ เมืองไชยา สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน ชื่อ เมืองจิวจิ

                                                           บทที่-๔

เมืองไชยา สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน ชื่อ เมืองจิวจิ

 

กำเนิด ศกศักราช และ วันขึ้นปีใหม่ ของ ชนชาติอ้ายไต พ.ศ.๖๒๓

สืบเนื่องมาจาก เหตุการณ์ในขณะนั้น ประเทศอินเดีย ปกครองโดย ราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งเริ่มต้นสร้างราชวงศ์ขึ้นโดย พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๑ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ เคยมีความสัมพันธ์ทางการทูต และความสัมพันธ์ทางการค้า และ ทางเครือญาติ กับ ราชวงศ์ขุนหลวง ของ สหราชอาณาจักรเทียน มาอย่างใกล้ชิด และอย่างต่อเนื่อง พระเจ้ากนิษกะมหาราช ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๒ เป็นผู้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา นิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งได้พัฒนากลายเป็น นิกายมหายาน หรือ อาจริยวาท ในเวลาต่อมา ต่อมาเมื่อ พระเจ้ากนิษกะมหาราช เป็นผู้ทำสงคราม มีชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู เมื่อ พ.ศ.๖๒๑ พระเจ้ากนิษกะมหาราช จึงได้ประกาศตั้ง มหาศักราช ขึ้นมาใช้ในดินแดนของ ชมพูทวีป(อินเดีย)

ความเป็นมาถึงสาเหตุที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน นำ ศกศักราช มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ กับรัฐต่างๆของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีความเป็นมาโดยสรุปว่า เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน(ขุนโชก) หรือ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช และ มหาจักรพรรดิท้าวโชน เคยเป็นพระสหายสนิท กับ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เคยร่วมศึกษา พระพุทธศาสนา และโต้แย้งกัน อย่างแตกฉาน มาก่อน อีกทั้ง พระขนิษฐา ๒ พระองค์ ของ พระเจ้ากนิษกะมหาราช เป็นอัครมเหสี  ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน(ขุนโชก) และ มหาจักรพรรดิท้าวโชน อีกด้วย จึงมีความสัมพันธ์ทางเครือพระญาติวงศ์ ด้วย

ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน(ขุนโชก) เสด็จสวรรคต และ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(ขุนโชน) เปลี่ยนชื่อ เมืองเทียน(ยะลา) เป็น เทียนสน(ยะลา) เพื่อเป็นเกียรติแก่ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน(ขุนโชก) ผู้ผลิตเทียนสน มาใช้ในสงคราม ได้ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน พระเจ้ากนิษกะมหาราช ได้เสด็จมาร่วมงาน พิธีมหาบรมราชาภิเษก ณ กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) ด้วย เป็นเหตุให้ พระเจ้ากนิษกะมหาราช และ มหาจักรพรรดิท้าวโชน ร่วมกันหารือ พร้อมกับเสนอให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน ตั้ง ศกศักราช ขึ้นมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ

ปี มหาศักราช ของ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ยึดถือ การเริ่มต้นนับปี มหาศักราช ขึ้นใน วันเถลิงศกใหม่ ของปีเถาะ ในปี พ.ศ.๖๒๑ ซึ่งเป็นปีที่ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยที่ประเทศอินเดีย ใช้คำว่า "มหาศักราช" ส่วน ศกศักราช ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน จะใช้คำว่า "ศกศักราช" เป็นการยึดถือว่า เป็นวันเถลิงศกใหม่ ของปีมะสิงห์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย ปี พ.ศ.๖๒๓ ซึ่งเป็นปีที่ มหาจักรพรรดิท้าวโชน(ขุนโชน) ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ สหราชอาณาจักรเทียนสน มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช หรือที่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช เรื่อยมา

มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียนสน กรุงเทียนสน(ยะลา) ระหว่างปี พ.ศ.๖๒๓-พ.ศ.๖๖๓ แล้วสละราชสมบัติออกผนวช จนบรรลุโพธิสมภาร สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อสวรรคต จึงได้รับพระนามใหม่ว่า พระพุทธสิหิงค์ ที่ประชาชนชาวไทยเคารพบูชา มาจนถึงปัจจุบัน วันปีใหม่ของชาวไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงยึดถือ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย มาโดยตลอด มิได้ยึดถือวันสงกรานต์ เป็นวันปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ แท้จริงคือวันชาติของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๔ สมัย สหราชอาณาจักรเสียม ศกศักราช จะถูกนำมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร ปรากฏการใช้ในศิลาจารึก ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร

 

มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช ปลดเกษียร ดินแดนเกษียรสมุทร ปี พ.ศ.๖๒๓

       ดินแดนเกษียรสมุทร หมายถึง ดินแดนบริเวณหมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา หมู่เกาะบาหลี , เกาะบอร์เนียว และ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นดินแดนที่ พญาวสุเทวะ เป็นผู้สร้างรัฐขึ้นมาในดินแดน เกาะชวา เป็นครั้งแรก ต่อมา พระกฤษณะ(จตุคามรามเทพ) เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติ และได้เรียกชื่อเกาะชวา ในสมัยนั้นว่า เกาะพระกฤต เป็นดินแดนเมืองขึ้น ของ อินเดีย ต่อมาใช้สำหรับเนรเทศ นักปกครองอินเดียผู้กระทำความผิด และนักโทษอินเดีย ให้มาตั้งรกรากในดินแดนดังกล่าว ต่อมาได้พัฒนากลายเป็น อาณาจักรเกษียรสมุทร ยังเป็นเมืองขึ้นของอินเดีย เช่นเดิม เนื่องจากดินแดนเกษียรสมุทรมีแร่อาเจ๊ะ(แร่เงิน) มาก ทำให้มีการเรียกชื่อ เกาะสุมาตรา ว่า เกาะอาเจ๊ะตะวันตก เกาะชวา เรียกชื่อว่า เกาะอาเจ๊ะตะวันออก เกาะบอร์เนียว เรียกชื่อว่า เกาะอาเจ๊ะกลาง หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกชื่อว่า เกาะอาเจ๊ะเหนือ

       จนกระทั่ง ในสมัยของ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้มีชนชาติกลิงค์ อพยพมาอาศัยอยู่ที่เกาะพระกฤต(เกาะชวา) และ ชนชาติทมิฬ มาอพยพมาอาศัยอยู่ที่เกาะอาเจ๊ะ(สุมาตรา) ดินแดนอาณาจักรเกษียรสมุทร ยังคงเป็นเมืองขึ้น ของ อินเดีย เช่นเดิม เกาะอาเจ๊ะตะวันตก(เกาะสุมาตรา) จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า เกาะกาละ หรือ เกาะทมิฬโจฬะ เกาะอาเจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เกาะกลิงค์รัฐ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย ของ ชนชาติกลิงค์ ส่วนเกาะอาเจ๊ะกลาง(เกาะบอร์เนียว) ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เกาะโจฬะน้ำ ดินแดนเกษียรสมุทร ถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเมื่อตกมาเป็นเมืองขึ้น ของ ประเทศ สหราชอาณาจักรเทียนสน กรุงเทียนสน(ยะลา)

       ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน อาณาจักรเกษียรสมุทร ได้ก่อกบฏ หลายครั้ง เป็นที่ยากลำบากในการทำสงครามปราบปราม ของ อินเดีย จนกระทั่งในสมัยของ พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๑ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของ ราชวงศ์กุษาณะ มีความต้องการที่จะปลดเกษียร อาณาจักรเกษียรสมุทร ให้ออกไปจากความรับผิดชอบ ของ อินเดีย และมอบให้ อยู่ในการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน

       สืบเนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนโชก หรือ ท้าวเทียนสน) และ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงค์) เป็นพระสหายสนิท กับ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เคยร่วมศึกษา พระพุทธศาสนา และโต้แย้งกัน อย่างแตกฉาน มาก่อน อีกทั้ง พระขนิษฐา ๒ พระองค์ ของ พระเจ้ากนิษกะมหาราช เป็นอัครมเหสี  ของ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนโชก) และ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช อีกด้วย จึงมีความสัมพันธ์ทางเครือพระญาติวงศ์ ที่ใกล้ชิด ด้วยกัน

       เนื่องจาก เหตุการณ์ในรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช นั้น ประเทศอินเดีย ซึ่งปกครองโดย ราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งเริ่มต้นสร้างราชวงศ์ขึ้นโดย พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๑ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของ ราชวงศ์กุษาณะ นั้น มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทางการทูต และ ความสัมพันธ์ทางการค้า กับ สหราชอาณาจักรเทียน มาอย่างใกล้ชิด และอย่างต่อเนื่อง พระเจ้ากนิษกะมหาราช ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๒ เป็นผู้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา นิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งได้พัฒนากลายเป็น นิกายมหายาน หรือ อาจริยวาท ในเวลาต่อมา พระเจ้ากนิษกะมหาราช เป็นผู้ทำสงคราม มีชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู เมื่อ พ.ศ.๖๒๑ จึงได้คิดตั้ง มหาศักราช มาใช้ในประเทศอินเดีย

       เมื่อ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ยึดถือ การเริ่มต้นนับปี มหาศักราช ขึ้นใน วันเถลิงศกใหม่ ของปีเถาะ ในปี พ.ศ.๖๒๑ ซึ่งเป็นปีที่ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยที่ประเทศอินเดีย ใช้คำว่า "มหาศักราช" ส่วน ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ใช้คำว่า "ศกศักราช" เป็น ยึดถือ วันเถลิงศกใหม่ ของปีมะสิงห์ ในปี พ.ศ.๖๒๓ ซึ่งเป็นปีที่ มหาจักรพรรดิท้าวโชน(ขุนโชน) ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช

       เนื่องจาก ดินแดนเกษียรสมุทร(เกาะชวา และ เกาะสุมาตรา) หรือ อาณาจักรเกษียรสมุทร เป็นดินแดนเมืองขึ้น ของ ประเทศอินเดีย มาอย่างยาวนาน และ เกิดการกบฏ บ่อยครั้ง ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน นั้น ชนชาติทมิฬโจฬะ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่ เกาะอาเจ๊ะ หรือ เกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) และ ชนชาติกลิงค์ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในเกาะพระกฤต(เกาะชวา) หรือเกาะกลิงค์รัฐ นั้น ได้ก่อกบฏ แยกตัวออกจากการปกครอง ของ อินเดีย หลายครั้ง พระเจ้ากนิษกะมหาราช จึงขอให้ สหราชอาณาจักรเทียน ทำสงครามปราบปราม และยกดินแดนเกษียรสมุทร ให้อยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย เรียกกันว่า ปลดเกษียร ดินแดนเกษียรสมุทร ออกจากการปกครอง ของ อินเดีย

       เมื่อตอนปลายสมัย ของ สหราชอาณาจักรเทียน กรุงเทียนสน(ยะลา) จักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงค์) ได้ส่งกองทัพไปทำสงครามปราบปรามกบฏ ในดินแดนเกษียรสมุทร เรียบร้อยแล้ว ก็นำกิ่งดอกชบา ไปปลูกไว้ตามหมู่เกาะต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเทียน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อหมู่เกาะต่างๆ เป็นชื่อใหม่ว่า หมู่เกาะชบาตะวันตก(หมู่เกาะสุมาตรา) , หมู่เกาะชบาตะวันออก(หมู่เกาะชวา) , หมู่เกาะชบาใน(หมู่เกาะบอร์เนียว) และ หมู่เกาะชบาเหนือ(หมู่เกาะฟิลิปปินส์) ตั้งแต่นั้นมา ดินแดนเกษียรสมุทร ได้มาอยู่ในการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๒๓ เป็นต้นมา 

 

มหาราชาขุนหลวงเชียง ทำการฟื้นฟู อาณาจักรอ้ายลาว พ.ศ.๖๒๓

       ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงค์) หรือ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช(ขุนโชน) นั้น อาณาจักรลาว กลายเป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เมื่อปี พ.ศ.๖๒๓ พระองค์ได้มอบหมายให้ จักรพรรดิเจ้าชินราช(ขุนชิน) นำพระราชโอรส ซึ่งมีพระนามว่า ขุนเชียง ได้ไปอภิเษกสมรสกับ พระราชธิดา พระองค์หนึ่ง ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรจุลนี ราชวงศ์เหงียนคำ(จุลนี) และได้ไปประทับอยู่ที่ อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม) เพื่อช่วยฟื้นฟู อาณาจักรยวนโยนก(หลวงพระบาง) , อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม) ให้เข้มแข็ง ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย จนกระทั่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม) เกิดราชวงศ์เชียง ขึ้นมาอีกราชวงศ์หนึ่ง ของ อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม)

       ตำนานของลาว กล่าวถึง มหาราชาขุนเชียง หลังสงครามโพกผ้าเหลือง ได้ไปมีพระชายา กับ ราชธิดา ของ อาณาจักรต่างๆ หลายพระองค์ จึงมีพระราชโอรส ที่ขึ้นต้นชื่อด้วยคำว่า เชียง เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมา พระราชโอรส ของ ขุนเชียง ได้ถูกมอบหมายให้ไปปกครองดินแดนต่างๆ อย่างรวดเร็ว เมืองต่างๆ ในดินแดนของ อาณาจักรยวนโยนก , อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรจุลนี จึงมักจะมีชื่อคำว่า เชียง นำหน้า เป็นจำนวนมาก เช่น เชียงทอง(หลวงพระบาง) , เชียงแสน(ยวนโยนก) , เชียงบาน(เวียงจันทร์) , เชียงขวาง(เมืองปะกัน) , เชียงคาน , เชียงคำ , เชียงราย , เชียงของ , เชียงตุง และ เชียงรุ้ง  เป็นต้น ล้วนเป็นพระนาม ของ พระราชโอรส ของ มหาราชาขุนเชียง เป็นผู้ร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นมา ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงค์) ทั้งสิ้น

       เมื่อ ขุนเชียงทอง พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาราชาขุนเชียง แห่ง อาณาจักรจุลนี เติบโตขึ้น จึงได้มีการรื้อฟื้น อาณาจักรอ้ายลาว ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองขึ้นใหม่ โดยได้เปลี่ยนชื่อ เมืองโยนก(หลวงพระบาง) ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของ อาณาจักรยวนโยนก ให้ไปตั้งใหม่ที่ เมืองสุวรรณคำหลวง(เชียงแสน) ดั้งเดิม เมื่อปี พ.ศ.๖๒๓ ส่วน เมืองโยนก(หลวงพระบาง) ดั้งเดิม ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นชื่อ เมืองเชียงทอง(หลวงพระบาง) ตามพระนามของ มหาราชาท้าวเชียงทอง เพื่อใช้เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรอ้ายลาว โดยมี ท้าวเชียงทอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรอ้ายลาว ที่ถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ ส่วน ท้าวเชียงแสน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) หรือ อาณาจักรเชียงแสน อีกพระองค์หนึ่ง โดยมีเมืองนครหลวง ตั้งอยู่ที่ เมืองเชียงแสน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาให้ อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม) มีอิทธิพลต่อ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรยวนโยนก ในสมัยต่อมา เรื่อยมา

 

 

  

 

 

แผนที่แสดงที่ตั้งแว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน

 

  

มหาจักรพรรดิ สมัยประเทศ สหราชอาณาจักรเทียนสน พ.ศ.๖๒๓-พ.ศ.๖๙๓

       สหราชอาณาจักรเทียนสน มีมหาจักรพรรดิ ปกครองต่อเนื่องกันเพียง ๕ พระองค์ เริ่มต้นที่ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช หรือ ท้าวศกศักราช(ขุนโชน) พระอนุชา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๑(พ.ศ.๖๒๓-๖๖๓) ต่อมา พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวศกราช(ขุนโชน) คือ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(พระพุทธชินราช) เป็นรัชกาลที่ ๒(พ.ศ.๖๖๓-๖๘๘) ต่อมา พระอนุชา คือ มหาจักรพรรดิท้าวเชนราช(ชินศรี) หรือ พระพุทธชินศรี เป็นรัชกาลที่ ๓ ผู้ที่สร้าง สหราชอาณาจักรเทียนสน จนกระทั่งเป็นปึกแผ่น และประเทศจีน ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการ เมื่อปี พ.ศ.๖๘๘ จึงปรากฏหลักฐานชื่อ สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ในจดหมายเหตุจีน ด้วย ต่อมา พระราชโอรส ๒ พระองค์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเชนราช(ชินศรี) คือ รัชกาลที่ ๔ มหาจักรพรรดิท้าวเซี้ยง(เสี่ยงราช) และรัชกาลที่ ๕ มหาจักรพรรดิท้าวเชียง(เชียงราช) ขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ อีก ๒ พระองค์ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๖๙๓

       พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(ขุนโชน) หรือ พระพุทธชินราช มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ ขุนเทียน และ ขุนห้าว , ขุนหาร แต่ต่อมา ขุนห้าว และ ขุนหาร ได้สวรรคต ในสงคราม ทำให้ ขุนเทียน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) ประชาชนเรียกพระนามสั้นๆ ว่า ท้าวพันตา หรือ ขุนเทียน พระองค์ เป็นผู้ปฏิรูปการปกครอง พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารครั้งใหญ่ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ ประเทศใหม่ จากชื่อ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กลายเป็นรัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๙๓ เป็นต้นมา

 

เจ้าจิวจิ เปลี่ยนชื่อ เมืองโกสมพี(ไชยา) เป็น เมืองจิวจิ พ.ศ.๖๘๐

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๕๘๕ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ ได้มอบให้ ขุนศึกม้าหยวน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้าปิดล้อมเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรไตจ้วง อยู่ ๑ ปี ก็สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง ซึ่งประเทศจีน เปลี่ยนชื่อใหม่ ว่า แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) เป็นของประเทศจีน เป็นผลสำเร็จ เพราะมี แม่ทัพขุนหาญเสือ ขุนนางของ เชื้อสายเจ้าอ้ายไต เป็นผู้ทรยศ ต่อ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า โดยได้นำไพร่พลจำนวนประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน ไปอ่อนน้อมต่อ ขุนศึกม้าหยวน เมื่อปี พ.ศ.๕๘๖ ดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ส่วนใหญ่ จึงตกไปอยู่ภายใต้การปกครอง ของประเทศจีน อีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพขุนหารเสือ จึงกลายเป็นผู้ปกครอง แคว้นหนำหาย ในเวลาต่อมา กษัตริย์ราชวงจิว ผู้ปกครอง เมืองกวางตุ้ง ได้อพยพเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

ตำนานสระนาลี้เก เมืองไชยา กล่าวว่า เมื่อเมืองกวางตุ้ง ถูกประเทศจีน ยึดครอง กษัตริย์ราชวงจิว ผู้ปกครองเมืองกวางตุ้ง ได้นำครอบครัว หนีลงเรือสำเภา มายังเมืองโกสมพี(ไชยา) ได้มารับราชการที่ เมืองโกสมพี(ไชยา) ต่อมาเจ้าชาย จิวจิ(เจ้าชายจิ แซ่จิว) ได้มาสมรสกับ เจ้าหญิง องค์หนึ่ง ของ กษัตริย์แคว้นโกสมพี(ไชยา) ราชวงศ์คำ และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น อุปราช ของ แคว้นโกสมพี(ไชยา) ในเวลาต่อมา เจ้าจิวจิ ได้ส่งกองทัพจากเมืองโกสมพี(ไชยา) เข้าทำสงครามโพกผ้าเหลือง เพื่อยึดครอง เมืองกวางตุ้ง กลับคืน โดยตลอด

เจ้าจิวจิ เป็นอุปราช ปกครองเมืองโกสมพี(ไชยา) จนถึงปี พ.ศ.๖๘๐ ก็ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ราชาแห่ง แคว้นโกสมพี(ไชยา) ทำให้เมืองโกสมพี(ไชยา) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองจิวจิ ในปี พ.ศ.๖๘๐ ปรากฏในหลักฐานจดหมายเหตุจีน ที่เรียกเมืองไชยา ว่า เมืองจิวจิ(ไชยา) เนื่องจาก เจ้าจิวจิ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าจิวอ้าย และ เจ้าจิวคำ ได้สืบทอดกรุงจิวจิ(ไชยา) ต่อมา

       สมัยเจ้าจิวคำ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง กรุงจิวจิ นั้น เจ้าจิวคำ ได้สมรสกับ เจ้าหญิงแสงดาว ราชธิดา ของ เจ้าจีนหลิน ผู้ปกครอง อาณาจักรนาคฟ้า กรุงราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง พระนาม เจ้าคำแสง จะมีเรื่องราวตามคำกลอนที่ว่า ที่สระนาลี้เก มีมะพร้าวนาเก ต้นเดียวโนเน ตั้งอยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ผู้ใดหยั่งถึง คือผู้มีบุญเอย คือเรื่องราวของ เจ้าจิวคำ กับ พระนางแสงดาว ที่ถูกกองทัพทมิฬโจฬะ โดยขุนพลพันที่มัน ทำสงครามยึดครองแคว้นจิวจิ ในเวลาต่อมา

 

เมืองจิวจิ(ไชยา) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโพกผ้าเหลือง ยึดครองดินแดนไทย กลับคืน

       ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ ฮ่องเต้อานตี้(พ.ศ.๖๔๙-๖๗๒) และ ฮ่องเต้ฮั่นหัวตี้(พ.ศ.๖๗๒-๖๘๘) ได้เกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ เกิดขึ้นทั่วไปในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ในพื้นที่ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ได้เคยทำสงครามเข้ายึดครองดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ไปจาก ชนชาติอ้ายไต เพราะ มหาอาณาจักรจีน ได้ถือโอกาส ทำการการขูดรีดภาษีจากประชาชนชาวอ้ายไต อย่างหนัก เป็นที่มาให้เกิด กองทัพโพกผ้าเหลือง หรือ กองทัพชาวพุทธ ซึ่งเคยเริ่มต้นเกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว แล้วขยายไปตามแว่นแคว้นต่างๆ ทางฝั่งทะเลตะวันออก ในดินแดนอาณาจักรไตจ้วง ดั้งเดิม แล้วขยายไปสู่ดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ มหาอาณาจักรจีน ในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นสู่ และ แคว้นฉู่) กรุงเฉินตู แห่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มาก่อน

       ประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน กล่าวว่า กองทัพโพกผ้าเหลือง เริ่มต้นจากเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต นำชาวนาเพียงไม่กี่พันคน โพกผ้าเหลือง ออกต่อสู้ จนกระทั่งมีกองกำลัง หลายหมื่น หลายแสนคน ตำนานเรื่องขุนเทียน กล่าวว่า เจ้าจีนหลิน แห่งแคว้นจีนหลิน(ไชยา) ได้ส่งกองทัพโพกผ้าเหลือง ไปร่วมทำสงครามยึดครองเมืองกวางตุ้ง กลับคืน สืบทอดต่อเนื่องจนถึงสมัยที่ ขุนเทียน ได้มาเป็นอุปราช ปกครองเมืองจิวจิ(ไชยา) เป็นที่มาให้ขุนเทียน ต้องสืบทอดการทำสงครามโพกผ้าเหลือง ในเวลาต่อมา เหตุการณ์ความไม่สงบจากสงครามโพกผ้าเหลือง ดังกล่าว เกิดขึ้นและขยายออกไปหลายแว่นแคว้น เป็นเวลาต่อเนื่อง มหาอาณาจักรจีน จึงไม่พอใจ สหราชอาณาจักรเทียนสน เพราะทราบว่า เป็นผู้สนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง โดยตรง

 

ประเทศจีน สนับสนุน ชนชาติกลิงค์ และ ทมิฬโจฬะ เข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ

ในขณะที่ กองทัพโพกผ้าเหลือง ก่อสงครามยึดครองดินแดนของชนชาติไต กลับคืนเป็นผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง นั้น ฮ่องเต้อานตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ไม่พอพระทัยที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ผู้สนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง หรือ กองทัพชาวพุทธ ให้กอบกู้ดินแดนของชนชาติอ้ายไต ที่ถูก มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป กลับคืน ขุนนางจีน นิยมลัทธิขงจื้อ จึงได้ส่งคณะราชทูตไปติดต่อกับรัฐต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดน หมู่เกาะกาละ(สุมาตรา) หรือ เกาะชบาตะวันตก และติดต่อกับรัฐต่างๆ ของ ชนชาติกลิงค์ ใน หมู่เกาะพระกฤต(เกาะชบาตะวันออก หรือ เกาะชวา) เพื่อให้ยึดครอง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ขอให้ช่วยยกกองทัพทำสงคราม เข้ายึดครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เพื่อกดดันให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน ต้องถอนทหารออกจากการสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ผลปรากฏว่า ได้รับความร่วมมือจาก รัฐของทั้งสองชนชาติ เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะ ทั้งสองชนชาติ มีผลประโยชน์ทางการค้า อยู่กับ มหาอาณาจักรจีน ด้วย

       ผลของการผลักดัน ของ มหาอาณาจักรจีน ครั้งนั้น รัฐของชนชาติทมิฬโจฬะ จาก หมู่เกาะกาละ(สุมาตรา) ได้ส่งกองทัพ เข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก บริเวณภูเขาพระนารายณ์(พังงา) เรียกว่า รัฐเวียตบก และ ชนชาติทมิฬโจฬะ จาก เกาะชบากลาง(บอร์เนียว) นำโดย เจ้าชายมันตัน ได้รวบรวมชาวทมิฬโจฬะ ส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดนฝั่งขวา ของ ทะเลอ่าวแม่โขง ของ แคว้นจุลนี(หลินยี่) ในดินแดนฝั่งตะวันออก ของ ประเทศเขมร ในปัจจุบัน ตามคำแนะนำ ของ ขุนนางจีน พร้อมกับได้สร้างรัฐขึ้นในดินแดนดังกล่าว เรียกว่า รัฐโจฬะบก(เขมร) ในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน พร้อมกับได้ ทำการกวาดต้อนชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่านางนาค ในดินแดน แคว้นจุลนี มาปกครอง ด้วย

 

พระเจ้ามังเคร ชนชาติกลิงค์ เข้ายึดครอง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี)

ประเทศจีน สนับสนุนชนชาติกลิงค์ ให้กองทัพ ของ พระเจ้ามังเคร จาก หมู่เกาะพระกฤต หรือ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) เข้ายึดครอง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ให้เป็นรัฐ ของ ชนชาติกลิงค์ ในท้องที่ ต.คันธุลี ในปัจจุบัน ซึ่งแว่นแคว้นดังกล่าว เป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรชวาทวีป ของ รัฐนาคฟ้า แห่ง สหราชอาณาจักรเทียนสน พระเจ้ามังเคร มี พระนางมอญ เป็นอัครมเหสี มีพระราชธิดา พระนาม พระนางอีสาน

การเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ โดยชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน จำเป็นต้องถอนทหารออกจากการสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ในประเทศจีน มารักษาดินแดนสุวรรณภูมิ ตามแผนการที่ขุนนางขันทีนิยมขงจื๊อ ประเทศจีน วางแผนไว้ ในเวลาเดียวกันนั้น มหาอาณาจักรจีน ยังได้จัดส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นตาเกี๋ย ซึ่งเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรเก้าเจ้า ไปครอบครอง อีกด้วย สหราชอาณาจักรเทียน จึงเกิดศึกสามด้าน ในช่วงเวลา ดังกล่าว คือ ศึกที่หนึ่ง กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ศึกที่สอง กับ ชนชาติกลิงค์ และ ศึกที่สาม กับ มหาอาณาจักรจีน ในช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพจีน ถือโอกาสดังกล่าวทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง อย่างจริงจัง

ชนชาติกลิงค์ ที่เข้ายึดครอง แคว้นชวากะรัฐ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นชื่อ แคว้นกลิงครัฐ(คันธุลี) ได้ผสมเผ่าพันธุ์กับ ชนชาติทมิฬ ซึ่งได้สร้าง แคว้นรามัญ ขึ้นมาในดินแดน จ.ระนอง ในปัจจุบัน ได้ถือโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งกองทัพเรือจากท้องที่ จ.พังงา-ระนอง ในปัจจุบัน เข้ายึดครอง แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่ง ทางฝั่งทะเลทิศตะวันตก เพื่อยึดครองเป็นท่าเรือทางการค้า ของชนชาติกลิงค์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๗๘-๖๗๙ กองทัพของ อาณาจักรตาโกลา(ตรัง) พยายามทำสงครามขับไล่ แต่ไม่สำเร็จ จึงต้องส่งกองทัพ เข้าปิดล้อมไว้

 

การทำสงครามขับไล่ กองทัพกลิงครัฐ ออกจากแคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) พ.ศ.๖๗๙

เหตุการณ์ การทำสงครามของ ชนชาติกลิงค์(แคว้นรามัญ) กับ แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) โดยมีกองทัพ แคว้นตาโกลา(ตรัง) กำลังปิดล้อมกองทัพชนชาติกลิงค์ แคว้นรามัญ ไว้ เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ต้องรับสั่งให้ ขุนเชียง ถอนกองทัพ ออกมาจาก อาณาจักรยวนโยนก เชียงแสน เพื่อเข้าร่วมกันทำสงครามขับไล่ กองทัพชนชาติกลิงค์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๗๙-๖๘๐ กองทัพของขุนเชียง แห่ง สหราชอาณาจักรเทียนสน ได้ส่งกองทัพ เข้าโจมตี ชนชาติกลิงค์ จนกระทั่งชนชาติกลิงค์  ต้องล้มตายไปเป็นจำนวนมาก สามารถยึดครอง แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) กลับคืนสำเร็จ แต่ราชาจิวอ้าย ต้องสวรรคต ในสงครามครั้งนั้นเมื่อปี พ.ศ.๖๘๐

ภายหลังชัยชนะของ กองทัพขุนเชียง ในสงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ได้นำต้นโพธิ์ทอง ไปปลูกไว้ด้วย พร้อมกับพระราชทานชื่อ แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นโพธิ์กลิงค์พัง(กระบี่) ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๖๘๐ เป็นต้นมา จดหมายเหตุจีนเรียกแคว้นนี้ ในเวลาต่อมาว่า โฮลิงพัง(กระบี่) เป็นเมืองท่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ทางฝั่งทะเลทิศตะวันตก ในการติดต่อค้าขายกับ อินเดีย ที่สำคัญเมืองหนึ่ง นอกเหนือจากเมืองท่า แคว้นตาโกลา(กันตัง)

 

สงครามแย่งชิงแคว้นตาเกี๋ย กับ จีน อุปราชขุนเทียน ร่วมทำสงคราม ปี พ.ศ.๖๗๙-๖๘๑

       หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน และ เวียดนาม กล่าวถึงสถานการณ์ในสมัยที่ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ซึ่งเป็นมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน กรุงเทียนสน(ยะลา) สรุปว่า ได้มีเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นที่ แคว้นตาเกี๋ย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๗๙-๖๘๐ อ้างว่า พวกหนานก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียนสน) ซึ่งเป็นพรรคพวกของ เจ้าจูเหลียน ราชาแห่ง อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม ภาคใต้) ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ได้นำกองทัพจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ คน เข้าโจมตีเพื่อยึดครอง เมืองเซียงหลิน ของ แคว้นตาเกี๋ย กลับคืน ทั้งนี้เพราะ มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองไปไม่นาน ทำให้ฮ่องเต้จีน ต้องส่งกองทัพมาขับไล่ จนกระทั่งกองทัพของ เจ้าจูเหลียน ต้องถอยทัพกลับคืน ยัง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) กองทัพจีน ไล่ตีกองทัพเจ้าจูเหลียน ไปจนถึง อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้)

ในสมัยราชวงศ์ฮั่น อาณาจักรไตจ้วง ได้กลายเป็นแคว้นใหม่ ของ มหาอาณาจักรจีน แคว้นตาเกี๋ย(ตังเกี๋ย) ได้มาเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรเก้าเจ้า ซึ่งสนับสนุนให้เกิด กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้พยายามทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง หรือ หนานหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) กลับคืน โดยสามารถยึดครองแคว้นตาเกี๋ย กลับคืน มาได้สำเร็จ แต่เมื่อ มหาอาณาจักรจีน สนับสนุนชนชาติทมิฬโจฬะ และชนชาติกลิงค์ เข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ แผนการยึดครอง อาณาจักรหนานหาย กลับคืน จึงต้องยุติลง ชั่วคราว และกลับเสีย แคว้นตาเกี๋ย(ตังเกี๋ย) ไปให้จีน ครอบครอง อีกครั้งหนึ่ง

       ตามตำนานเรื่องราว ของ ขุนเทียน กล่าวว่า เจ้าจูเหลียน คือเชื้อสายราชวงศ์ ของ อาณาจักรหนานหาย แต่เมื่อ ขุนศึก ขุนหาญเสือ ทรยศ เจ้าจูเหลียน จึงต้องหลบหนีมาอยู่ที่ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียดนาม) ดังนั้น เมื่อขุนเชียง ได้ไปสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง เจ้าจูเหลียน คือ กองทัพโพกผ้าเหลือง กลุ่มหนึ่ง ที่พยายาม ทำสงครามยึดครองแคว้นตาเกี๋ย กลับคืน เจ้าจูเหลียน จึงได้อภิเษกสมรส กับ ราชธิดา ของ ขุนเชียง เป็นราชาปกครอง แคว้นจุลนี(หลินยี่) แต่เมื่อ ขุนเชียง ต้องนำกองทัพมาปราบปราม กองทัพของชนชาติทมิฬโจฬะ ขุนเทียน จึงได้รับมอบหมาย ให้ไปช่วยเหลือ กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ เจ้าจูเหลียน แต่ดินแดน แคว้นจุลนี ของ ราชาเจ้าจูเหลียน ส่วนหนึ่ง ถูกกองทัพ ของ พระเจ้าทมิฬมันตัน ร่วมกับกองทัพจีน เข้ายึดครองบางส่วน เป็นผลสำเร็จ ราชาเจ้าจูเหลียน จึงต้องนำพากองทัพโพกผ้าเหลือง เข้าโจมตี แคว้นตาเกี๋ย เป็นเหตุให้ กองทัพจีน ต้องถอนทัพจาก เมืองทมิฬมันตัน(เขมร) มารักษาแคว้นตาเกี๋ย ขุนเทียน จึงต้องส่งกองทัพ ไปช่วยรักษา แคว้นจุลนี มิให้ พระเจ้าทมิฬมันตัน เข้ายึดครอง และเข้าโจมตี แคว้นทมิฬมันตัน(เขมร) เป็นผลสำเร็จ

เนื่องจาก ขุนเทียน ซึ่งมีความสามารถยิงธนูมาตั้งแต่วัยเยาว์ ขุนเทียน ได้นำกองเรือสำเภา เดินทางไปค้าขายกับ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนาม ภาคเหนือ) และ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) เป็นประจำ และยังเดินทางไปค้าขายถึงเมืองเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้) เมื่อขุนเทียน ทราบว่า เมืองกวางตุ้ง และเมืองเสี่ยงให้ เป็นดินแดนของชนชาติอ้ายไต มาก่อน แต่ถูกประเทศจีน ทำสงครามยึดครองไป จนกระทั่งมีชนชาวอ้ายไต อพยพ มาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก ขุนเทียน จึงเกิดความเคียดแค้น ต้องการทำสงครามยึดครองดินแดนไทย กลับคืน มาโดยตลอด

 

อุปราชขุนเทียน แคว้นจิวจิ(ไชยา) ทำสงครามยึดครอง แคว้นโจฬะบก(เขมร)

       ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง เป็นตำนานที่มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการทำสงคราม ในพื้นที่ทุ่งพระยาชนช้าง ในหลายสมัย จึงมีเรื่องราวของ ประวัติบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ สงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ด้วย เรื่องราวพระราชประวัติ ของ ขุนเทียน เป็นเรื่องหนึ่ง ของ ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง เมืองคันธุลี

       พระราชประวัติ ของ ขุนเทียน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ขุนเทียน เป็นพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี(ขุนเชน) หรือ พระพุทธชินศรี กับ มเหสีพระองค์ใหม่ ราชวงศ์จิว เมืองจิวจิ(ไชยา) ขุนเทียน เติบโตที่เมืองจิวจิ(ไชยา) เมื่อโตขึ้นได้ไปบวชเรียนที่มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ ตามราชประเพณี และได้มาเป็นอุปราช ของ แคว้นจิวจิ(ไชยา) ตั้งพระราชวังอยู่ที่ บ้านเนินสูง อ.ไชยา ในปัจจุบัน

เนื่องจาก ขุนเทียน ซึ่งมีความสามารถยิงธนูมาตั้งแต่วัยเยาว์ ขุนเทียน ได้นำกองเรือสำเภา เดินทางไปค้าขายกับ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนาม ภาคเหนือ) และ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) เป็นประจำ และยังเดินทางไปค้าขายถึงเมืองเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้) เมื่อขุนเทียน ทราบว่า เมืองกวางตุ้ง และเมืองเสี่ยงให้ เป็นดินแดนของชนชาติอ้ายไต มาก่อน แต่ถูกประเทศจีนทำสงครามยึดครองไป จนกระทั่งมีชนชาวอ้ายไต อพยพ มาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก ขุนเทียน จึงเกิดความเคียดแค้น ต้องการทำสงครามยึดครองดินแดน กลับคืน มาโดยตลอด

เมื่อ ขุนเทียน ได้ ธนูวิเศษ ตามความฝัน และได้รับคำสั่งจาก จักรพรรดิท้าวชินศรี ซึ่งเป็นพระราชบิดา ให้นำไพร่พล เดินทางไปช่วย กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ เจ้าจูเหลียน เพื่อทำสงครามช่วยกอบกู้ดินแดน แคว้นตาเกี๋ย(ตังเกี๋ย) กลับคืนมา โดยร่วมมือกับ เจ้าจูเหลียน เชื้อสายราชวงศ์ อาณาจักรไตจ้วง(หนานหาย) แต่เนื่องจาก ขุนเทียน ทราบว่า ดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา บางส่วน ถูกชนชาติทมิฬโจฬะน้ำ จาก เกาะชบาใน(บอร์เนียว) เข้ายึดครองไป ขุนเทียน จึงวางแผนยกกองทัพเข้าปราบปราม รัฐทมิฬโจฬะบก(เขมร) จึงรับสั่งให้ เจ้าจูเหลียน ยกกองทัพเข้าก่อกวนกองทัพจีน ที่แคว้นตาเกี๋ย เพื่อให้ กองทัพของ ประเทศจีน ถอนกองทัพ ที่ถูกส่งเข้ามาหนุนช่วย รัฐทมิฬโจฬะบก(เขมร) ให้กลับไปรักษาแคว้นตาเกี๋ย รับสั่งให้ ขุนเทียน ทำสงครามปราบปราม พระเจ้าทมิฬโจฬะมันตัน ปฐมกษัตริย์ ของ โจฬะบก(เขมร) จนกระทั่ง พระเจ้าทมิฬมันตัน สวรรคต ในสงคราม

 

ขุนเทียน ทำสงคราม ๑๘ เปื้อน ณ สมรภูมิ พนมมันตัน ปี พ.ศ.๖๘๑

ตำนานนิทานพื้นบ้าน ทุ่งพระยาชนช้าง คันธุลี และ สระนางนาคโสมา เล่าเรื่องราว สงคราม ๑๘ เปื้อน ก่อนเกิดสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง มีเนื้อหาสรุปว่า ขุนเทียน เป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี เมื่อมีพระชุนมายุครบ ๑๖ พรรษา ได้ถูกส่งมาเป็นอุปราชที่ แคว้นจิวจิ(ไชยา) หรือ แคว้นโกสมพี(ไชยา) ขณะนั้นมี เจ้าจิวคำ(ขุนคำ แซ่จิว) เป็นราชา ของ แคว้นจิวจิ(ไชยา) คืนหนึ่ง ขุนเทียน ได้นอนหลับฝันไปว่า พระกฤษณะ(จตุคามรามเทพ) มาเข้าฝันว่า ได้มอบธนูวิเศษ ให้ และถูกวางไว้ ที่ ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขาแม่นางเอ เมืองจิวจิ(ไชยา) ใกล้ที่ตั้งเจดีย์พระกฤษณะ เพื่อใช้เป็นอาวุธวิเศษ ในการทำสงคราปราบข้าศึก เมื่อ ขุนเทียน ตื่นบรรทม มาตอนเช้า ขุนเทียน จึงเดินทางไปที่ ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขาแม่นางเอ ก็พบธนูวิเศษ ตามความฝัน จริง

เมื่อ ขุนเทียน กลับมายังพระราชวัง ก็ได้รับพระราชสาสน์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช มีพระบรมราชโองการให้ ขุนเทียน นำกองทัพไปช่วยเหลือ กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ เจ้าจูเหลียน ณ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) แต่ขณะที่เดินทางไปโดยเรือสำเภา นั้น ได้พบว่า มีกษัตริย์ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะน้ำ ส่งกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนทางทิศตะวันออก ของ อาณาจักรคามลังกา ไปครอบครอง ขุนเทียน จึงส่งกองทัพเข้าปราบปราม กษัตริย์ทมิฬโจฬะ(เขมร) พระนามว่า พระเจ้าทมิฬมันตัน ผลของสงคราม พระเจ้าทมิฬมันตัน ถูกศรอาบยาพิษ ของ ขุนเทียน เสด็จ สวรรคต แต่ ขุนเทียน ยังไม่สามารถ ยึดเมืองได้ เพราะ พระนางมันตัน และ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ยังช่วยรักษาเมืองพนมมันตัน ไว้ได้ ขุนเทียน จึงต้องนำกองทัพ ไปยัง อาณาจักรเก้าเจ้า เพื่อนัดพบกับ เจ้าจูเหลียน ขณะนั้น พระนางมันตัน ได้จัดตั้งกองโจร ออกปล้นเรือสำเภาค้าขาย ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นประจำ

ขุนเทียน ได้เสด็จไปทำสงครามช่วยเหลือ กองทัพโพกผ้าเหลือง อีกเกือบ ๒ ปี เพื่อช่วย เจ้าจูเหลียน ทำสงคราม กับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งบุกมาถึง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) จนกระทั่ง ขุนเทียน มีพระชนมายุ ๑๘ พรรษา(ปี พ.ศ.๖๗๑) อยู่ในวัยที่กำลังเปลี่ยนแปลง และใจร้อน เรียกว่า วัย ๑๘ เปื้อน ได้สืบทราบว่า กองโจรสลัดชนชาติทมิฬโจฬะบก(เขมร) กลุ่ม ทมิฬมันตัน ซึ่งตั้งรัฐรวมกลุ่มกันอยู่รอบๆ ภูเขามันตัน ทางฝั่งตะวันออก ของอ่าวทะเลแม่โขง มีอาชีพเป็นโจรสลัด ด้วย และได้เข้าปล้นสะดมกองเรือสำเภาค้าขาย ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นประจำ ด้วยการสนับสนุน ของ มหาอาณาจักรจีน อีกทั้งยังสร้างปัญหาในการเดินทางไปยัง แคว้นออกแก้ว , แคว้นอินทปัต , แคว้นสุวรรณเขต , แคว้นหนองหานหลวง , แคว้นเชียงบาน และ แคว้นจุลนี อีกด้วย

ขุนเทียน ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าทำ สงคราม ๑๘ เปื้อน โดยสามารถนำกองทัพเข้าโจมตี รัฐทมิฬมันตัน(เขมร) สำเร็จ พระนางมันตัน ถูกยิงด้วยศรอาบยาพิษ สิ้นพระชนม์ เมืองทมิฬมันตัน ถูกขุนเทียน ยึดครอง ได้สำเร็จ ส่วนราชธิดา ของ กษัตริย์ทมิฬมันตัน มีพระนามว่า เจ้าหญิงโสมา ได้หลบหนีลงเรือ ไปในทะเล ขุนเทียน ได้ออกติดตามจับกุมมาได้ จึงนำกลับไปยังแคว้นโกสมพี พระนางโสมา จึงได้กลายเป็นพระชายา พระองค์หนึ่ง ของ ขุนเทียน โดยได้ตั้งพระราชวังพระทับให้กับ พระนางโสมา อยู่ที่ สระนางนาคโสมา แคว้นจิวจิ(ท้องที่ บ้านเนินสูง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี)

ต่อมา ขุนเทียน ได้มีพระราชโอรส และพระราชธิดา หลายพระองค์ กับพระนางโสมา ที่สำคัญคือ เจ้าชายศรีทรัพย์ , เจ้าหญิงโสภา และ เจ้าชายพันจัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของจุดเริ่มต้นการกำเนิด และกระบวนการพัฒนา มาเป็น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ที่มีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นประเทศเขมร ในปัจจุบัน

 

จดหมายเหตุจีน ซึ่งเขียนบันทึกขึ้นโดย ราชทูตคังไถ และ อุปทูตจูยิง ได้กล่าวถึงขุนเทียน ไว้ มีลักษณะเป็นตำนาน มีเนื้อหาแปลได้ ว่า...

 

ขุนเทียน ที่มีเชื้อสายราชวงศ์สืบทอดมาจากอินเดีย(พระนางศกศักราช) ได้นอนหลับฝันไปว่า เทวดาประจำราชวงศ์  ได้มอบศรธนูวิเศษ ให้กับพระองค์ และสั่งให้ลงเรือไปยึดครองดินแดนโจฬะบก(เขมร) ครั้นตอนเช้า ขุนเทียน พบศรธนู วางอยู่ที่โคนต้นไม้ ข้างเทวาลัย(เจดีย์พระกฤษณะ) จริง พระองค์จึงได้ลงเรือมายังดินแดน โจฬะบก(เขมร) ขณะนั้น กษัตริย์สตรีชนป่าเถื่อน พระนามนางพญาใบมะพร้าว(พระนางโสมา) นำกองโจรมาปล้นสะดม และพยายามยึดเรือของ ขุนเทียน ทำให้ ขุนเทียน ต้องแผลงศรไปทะลุเรือของ สตรีชนป่าเถื่อนนางพญาใบมะพร้าว(พระนางโสมา) พระนางก็ตกใจกลัว จึงยอมอ่อนน้อมเป็นชายาของ ขุนเทียน ขณะนั้น นางมิได้สวมเสื้อผ้า ขุนเทียน จึงม้วนผ้าถุง สวมลงไปบนศีรษะของนาง ต่อจากนั้นขุนเทียน ก็ได้นำไปเป็นชายา ที่เมืองของตน

  

   ขุนเทียน ให้กำเนิด บ้านนาสาร

       ความเป็นมาของชื่อท้องที่ บ้านนาสาร ในปัจจุบัน มีความเป็นมาโดยสรุปว่า ในขณะที่ อุปราชขุนเทียน นำกองทัพออกไปทำสงครามขับไล่ รัฐเวียตบก(พังงา) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ออกจากดินแดนทางทิศตะวันตก ของ ภูเขาศก นั้น ไพร่พลที่ เมืองนาสาร(อ.นาสาร) เมืองพระแสง(อ.พระแสง) และ เมืองเวียงสระ(อ.เวียงสระ) ได้ทำหน้าที่ทำนาทำไร่ เพื่อส่งข้าว เป็นเสบียงอาหารให้กับกองทัพ ของ อุปราชขุนเทียน

       เนื่องจากการส่งเสบียงกรังในขณะนั้น ประชาชน ต้องทำนา และต้องแบ่งข้าวเปลือก เพื่อส่งไปสนับสนุนกองทัพ แต่ประชาชน ชาวบ้านนาสาร เห็นใจกองทัพของอุปราชขุนเทียน ซึ่งต้องทำศึกหนัก กับ โจรทมิฬเวียตบก จึงนำข้าวเปลือก มาตำให้เป็นข้าวสาร เพื่อนำส่งเป็นเสบียงกรังให้กับกองทัพ โดยไม่ต้องการให้ทหารที่กำลังทำสงคราม ต้องยากลำบาก และมีภาระเพิ่มขึ้น ในการที่ทหารต้องมาตำข้าวกันเอง ท้องที่ดังกล่าว จึงถูก อุปราชขุนเทียน พระราชทานชื่อเมืองว่า เมืองนาสาร ตั้งแต่นั้นมา พร้อมกับยกย่องให้เป็นแบบอย่างของหมู่บ้านซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนกองทัพ เป็นที่มาให้หมู่บ้านอื่นๆ ยึดถือเป็นแบบอย่าง โดยส่งข้าวสาร ให้กับกองทัพแทนที่การส่งข้าวเปลือก ตั้งแต่นั้นมา

 

ขุนเทียน ให้กำเนิด เมืองเวียงสระ

ชนเผ่าทมิฬโจฬะ ที่ตั้งรัฐขึ้นปกครองบริเวณภูเขาพระนารายณ์ พังงา ทางฝั่งทะเลตะวันตก เรียกชื่อกันว่า รัฐเวียตบก คำว่าเวียต แปลว่า ผู้รุกราน คำว่าเวียตบก แปลว่า ผู้รุกรานทางบก เหตุการณ์ขณะนั้น รัฐเวียตบก ที่ภูเขาพระนารายณ์ พังงา ได้ขยายอำนาจเข้าทำสงครามยึดครองดินแดนทางทิศตะวันออก ของ ภูเขาศก เข้ามาถึง เมืองเวียงสระ เมืองพระแสง และ เมืองสักเวียต ใกล้กับแคว้นจิวจิ(ไชยา) ไปทุกที

 ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ เมืองเวียงสระ(อ.เวียงสระ) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เกิดเหตุขึ้นเมื่อ ชาวเวียงสระ ช่วยกันลงแรง ระดมพลช่วยกันตำข้าว ด้วยครกตำข้าว เพื่อ นำข้าวสารส่งเป็นเสบียงให้กับกองทัพ ของอุปราชขุนเทียน ที่กำลังทำสงครามขับไล่ โจรทมิฬโจฬะ ที่ตั้งรัฐเวียตบก ขึ้นปกครองบริเวณภูเขาพระนารายณ์ พังงา เช่นเดียวกับ บ้านนาสาร ซึ่งได้ส่งเสบียงเป็นข้าวสาร ตามที่กล่าวมาแล้ว ต่อมาได้เกิดสงครามขึ้นมาในท้องที่ดังกล่าว ในขณะที่ประชาชน กำลังช่วยกันลงแรงช่วยกันตำข้าว นั้น กองทัพของโจรชนชาติทมิฬโจฬะ รัฐเวียตบก(พังงา) ได้ยกกองทัพลงมาเพื่อหวังยึดครอง เมืองเวียงสระ ในขณะที่ชาวเวียงสระกำลังลงแรง ช่วยกันตำข้าว

ประชาชนชาวเวียงสระ ได้ลุกขึ้นต่อสู้ กับ โจรทมิฬโจฬะ รัฐเวียตบก อย่างกล้าหาญ  โดยได้สร้างวีรกรรมการต่อสู้กับข้าศึกทมิฬโจฬะ ด้วยการใช้ สากตำข้าว ที่กำลังตำข้าว มาใช้เป็นอาวุธในการสู้รบ กับข้าศึก โดยการเหวี่ยงสากตำข้าว ทำลายข้าศึกโจรทมิฬโจฬะ จนกระทั่ง กองทัพของพวกโจรทมิฬโจฬะ รัฐเวียตบก(พังงา) เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โจรทมิฬโจฬะ รัฐเวียตบก จึงต้องพ่ายแพ้สงคราม ทำให้ประชาชนชาวเวียงสระ สามารถสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นสำเร็จ ต่อมา อุปราชขุนเทียน ทราบวีรกรรมของ ประชาชน เมืองเวียงสระ จึงพระราชทานชื่อหมู่บ้านดังกล่าวว่า เมืองเหวี่ยงสาก เพื่อยกย่องการต่อสู้ของประชาชน ในการสร้างบ้านแปลงเมือง จึงตั้งชื่อเมืองดังกล่าวว่า เหวี่ยงสาก ซึ่งเป็นคำพูดในสำเนียงภาษาท้องถิ่นปักษ์ใต้ว่า เวียงสระ ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

คำว่า เวียงสระ เป็นสำเนียงภาษาท้องถิ่นภาคใต้ มีความหมายเหมือนกับภาษาไทยภาคกลาง ตรงกับคำที่ว่า เหวี่ยง-สาก วีรกรรมของชาวเวียงสระ ในครั้งนั้น ได้รับการยกย่องอย่างสูง คำว่า เวียง จึงถูกนำมาใช้แทนคำว่า เมือง และคำว่า เวียง จึงมีความหมายว่า "เมืองที่พร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึก" ส่วนคำว่า เชียง มีความหมายว่า "เมืองที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ จากพระราชโอรส ของ ขุนเชียง" ต่อมา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เชื้อสายเจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์ขุนเทียน ที่ออกไปสร้างบ้านแปลงเมืองในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงใช้คำว่า เวียง หรือ เชียง นำหน้าชื่อเมืองในดินแดนต่างๆ เรื่อยมา ทั้งนี้เพื่อยกย่องวีรกรรมของ ชาวเมืองเวียงสระ ที่เคยสร้างวีรกรรมไว้ในอดีต

 

ขุนเทียน ให้กำเนิด เมืองพระแสง

       ตำนานเรื่องราวความเป็นมาของชื่อท้องที่ เมืองพระแสง(อ.พระแสง) มีเรื่องราวโดยสรุป ว่า รัฐเวียตบก(พังงา) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ได้ส่งกองทัพมาปะทะกับกองทัพ ของ อุปราชขุนเทียน ณ เมืองพระแสง กองทัพทมิฬโจฬะอาเจ๊ะเวียตบก ได้ทำการสู้รบอย่างบ้าคลั่ง ไม่กลัวตาย อุปราชขุนเทียน ได้ยิงศรธนูอาบยาพิษ จนหมดลูกศรธนู จนกระทั่งมีศพข้าศึกนอนตายกลาดเกลื่อน แต่กองทัพ รัฐเวียตบก ยังบุกเข้ามาประชิดตัว อย่างต่อเนื่อง เกิดการรบแบบตะลุมบอน อุปราชขุนเทียน ต้องชัก พระแสงดาบ ประจำพระองค์ เพื่อนำกองทหารออกทำการสู้รบแบบตะลุมบอน จนกระทั่ง กองทัพของ รัฐเวียตบก ถูกสังหารเกือบทั้งหมด

       เมื่ออุปราชขุนเทียน แห่งแคว้นจิวจิ(ไชยา) ได้รับชัยชนะในสงคราม ครั้งนั้น จนเป็นที่เกรงขาม ของ นักรบทมิฬโจฬะอาเจ๊ะเวียตบก เรื่อยมา ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า เมืองพระแสง เพื่อยกย่องความกล้าหาญของ อุปราชขุนเทียน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำสงครามโดยไม่เคยชัก พระแสงดาบ มาก่อน แต่ต้องชักพระแสงดาบ ออกทำการสู้รบกับข้าศึก ในท้องที่ดังกล่าว อย่างกล้าหาญ จึงเรียกว่า เมืองพระแสง สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน

 

ขุนเทียน ให้กำเนิด เมืองสักเวียต

       ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ บ้านเสวียต คือท้องที่แห่งหนึ่งใน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบันกล่าวว่า เกิดขึ้นจากผลของสงครามระหว่าง กองทัพของ รัฐทมิฬโจฬะอาเจ๊ะเวียตบก(พังงา) ของชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ กับ กองทัพของ อุปราชขุนเทียน สงครามครั้งนั้น อุปราชขุนเทียน สามารถจับเชลยศึกชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะเวียตบก ได้จำนวนหนึ่ง นำมาไว้ที่ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ เมืองจิวจิ(ไชยา)

       เชลยศึกดังกล่าว ถูกนำมาสักหน้าผากตัว "ว" เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า เป็น พวกทมิฬโจฬะอาเจ๊ะเวียตบก ซึ่งหมายถึง ชนเผ่าชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะอาเจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) ซึ่งเป็นผู้รุกรานทางบก มีอาชีพเป็นโจรปล้นสะดม มีผิวดำผมหยิก ดุร้าย ถูกนำมาฝึกอบรมอาชีพ ให้รู้จักทำการการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และร่วมกันสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยร่วมกัน ที่ บ้านสักเวียต ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง ของ แคว้นจิวจิ(ไชยา) คือท้องที่ ต.เสวียต อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

ขุนเทียน ทำสงครามขับไล่ รัฐเวียตบก ณ ภูเขาพระนารายณ์ ปี พ.ศ.๖๘๗

       รัฐเวียตบก(ภูเขาพระนารายณ์) เกิดขึ้นจาก การที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ส่งกองทัพเข้าสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง หรือ กองทัพชาวพุทธ ซึ่งเป็นดินแดนของชนชาติอ้ายไต ที่ถูกประเทศจีน ยึดครองดินแดนไป และพยายามกดขี่ขูดรีด มิให้ลุกขึ้นต่อสู้ กอบกู้ดินแดนชนชาติอ้ายไตกลับคืน แต่ ชนชาติอ้ายไต กลับรวมตัวกัน ลุกขึ้นต่อสู้ ในรูปแบบ ของ องค์กรชาวพุทธโพกผ้าเหลือง ด้วยการสนับสนุน ของกองทัพ สหราชอาณาจักรเทียนสน ซึ่งประสบความสำเร็จ ในการใช้ กองทัพโพกผ้าเหลือง ยึดครองดินแดนอาณาจักรอ้ายลาว กลับคืน จนทำให้ กองทัพโพกผ้าเหลือง ขยายลุกลามไปยังดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต ซึ่งถูกประเทศจีนยึดครอง เป็นเหตุให้ ประเทศจีน ต้องขอความร่วมมือจากรัฐ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ รัฐของชนชาติกลิงค์ ในดินแดนเกษียรสมุทร ให้ทำสงครามยึดครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เพื่อกดดันให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน ต้องถอนกองทหาร ที่สนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง มารักษาดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร ทำให้ ประเทศจีน สามารถปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้โดยง่าย เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช รับสั่งให้ ขุนเทียน นำกองทัพบก เข้าโจมตี รัฐเวียตบก ของ ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ เพื่อขับไล่ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ ให้กลับคืนสู่ดินแดน  อาณาจักรเกษียรสมุทร สงครามจึงเกิดขึ้น

 สงครามยึดครอง แคว้นไตเวียต ของ ขุนเทียน เป็นไปตามตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ บ้านเสวียต คือท้องที่แห่งหนึ่งใน อ.ท่าฉาง ในปัจจุบันกล่าวว่า เกิดขึ้นจากผลของสงครามระหว่าง กองทัพ รัฐเวียตบก ของชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ กับ กองทัพของ ขุนเทียน ๒ ครั้ง สงครามครั้งแรก ขุนเทียน สามารถจับเชลยศึกชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ ได้จำนวนหนึ่ง จากผลของสงคราม ที่เมืองพระแสง และ เมืองเวียงสระ ส่วนสงครามครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพบก ของ ขุนเทียน ซึ่งเป็นกองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ได้ยกกองทัพบกข้ามภูเขาศก ไปสมทบกับ กองทัพเรือ ของ ขุนเซี้ยง ขุนเชียง และ ขุนเชียน เพื่อปิดล้อม เมืองเวียตบก บริเวณภูเขาพระนารายณ์ พังงา จนสามารถตี เมืองเวียตบก แตก สามารถจับเชลยศึก พวกทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ รัฐเวียตบก ได้เป็นจำนวนมาก และถูกกวาดต้อนข้ามภูเขาศก ไปเป็นข้าทาส อยู่ที่ เมืองสักเวียต(ต.เสวียต อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี)

 

ขุนเทียน สร้าง แคว้นพนมสายรุ้ง ที่เชิงภูเขาพนมสายรุ้ง(ภูเขาพนมเบญจา)

       ในอดีต ภูเขาพนมเบญจา ในท้องที่ จ.กระบี่ ในปัจจุบัน เคยมีชื่อว่า ภูเขาพนมสายรุ้ง เนื่องจาก มีน้ำตก มีไอน้ำ มีหมอกปกคลุมภูเขาดังกล่าว เกิดรุ้งกินน้ำ ตลอดทั้งปี จึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาพนมสายรุ้ง เนื่องจากมีความเชื่อกันว่า ภูเขาพนมสายรุ้ง พระพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จมาประทับที่เชิงภูเขาพนมสายรุ้ง เป็นพระบาทที่-๕ ของพระพุทธเจ้า ในดินแดนสุวรรณภูมิ ขุนศรีธรรมโศก จึงเปลี่ยนชื่อ ภูเขาพนมสายรุ้ง ในสมัยต่อมา เป็น ภูเขาพนมเบญจา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       เมื่อขุนเทียน ทำสงครามปราบปราม รัฐเวียตบก ของชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ บริเวณภูเขาพระนารายณ์ สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งแคว้นพนมสายรุ้ง ขึ้นมาที่เชิงภูเขาพนมสายรุ้ง ขุนเทียนเป็นกษัตริย์ ปกครอง แคว้นพนมสายรุ้ง เป็นต้นราชวงศ์เชิงภูเขา หรือ ราชวงศ์ไศเลนทรวงศ์ ตั้งแต่นั้นมา

       การตั้งแคว้นพนมสายรุ้ง ขึ้นมาทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ทำให้ ชนชาติทมิฬโจฬะอาเจ๊ะ จากเกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) ไม่สามารถทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ตามชายฝั่งทะเลตะวันตก ได้อย่างง่ายดาย อีกต่อไป แคว้นพนมสายรุ้ง ที่เชิงภูเขาพนมสายรุ้ง ขุนเทียน ได้สร้างให้กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา

 

ขุนเทียน พบแหล่งแร่เหล็ก จำนวนมาก ที่ภูเขาถ้ำสิงขร เมืองท่าขนอน

       ตั้งแต่สมัยที่ขุนเทียน เป็น อุปราช ปกครองแคว้นจิวจิ(ไชยา) จนกระทั่งไปเป็นราชาปกครอง แคว้นพนมรุ้ง ในฝั่งทะเลตะวันตก ขุนเทียน ต้องทำสงคราม และเดินทางผ่านดินแดนต่างๆ ระหว่าง ทะเลตะวันออก กับ ทะเลตะวันตก ก็ได้พบแหล่งแร่เหล็ก บริเวณภูเขาถ้ำสิงขร คือท้องที่บริเวณวัดถ้ำสิงขร อ.คีรีรัฐ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เป็นจำนวนมาก จึงได้นำไพร่พล ไปขุดแร่เหล็ก หลอมเหล็ก และสร้างโรงตีเหล็ก ขึ้นในท้องที่ดังกล่าว จนสามารถสร้างกองทัพใหม่ขึ้นมาอย่างเข้มแข็ง

       ขุนเทียน ได้สร้างกองทัพที่มีดาบเหล็ก ที่ถูกผลิตขึ้น เป็นกองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นมาในท้องที่เมืองท่าขนอน เรียกว่า กองทัพคีรีรัฐ มีความหมายว่า กองทัพมีความเข้มเข็งดั่งขุนเขาคีรี และได้พระราชทานเมืองที่ขุดแร่เหล็ก ดังกล่าวว่า เมืองคีรีรัฐ ขุนเทียน ยังได้สร้างอู่ต่อเรือสำเภา ขึ้นที่ท่าโรงช้าง เมื่อทุกอย่างสำเร็จเรียบร้อย ขุนเทียน ก็นำกองทัพเข้าตีแคว้นกลิงค์รัฐ ที่เมืองครหิต(คันธุลี) ทันที เรียกว่า สงคราม ๒๘ เปื้อน การสร้างกองทัพหลักที่เมืองคีรีรัฐ เป็นที่มาให้ขุนเทียน ใช้ชื่อคีรีรัฐ ตั้งชื่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ในเวลาต่อมา

 

จีน ส่งคณะราชทูตมาสร้างความสัมพันธ์ กับ สหราชอาณาจักรเทียนสน ปี พ.ศ.๖๘๘

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้กล่าวถึงคณะราชทูตของ มหาอาณาจักรจีน ได้เดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ คือ สหราชอาณาจักรเทียนสน กรุงเทียนสน(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง เป็นการเดินทางของ คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน มายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นครั้งที่ ๓ คือ เหตุการณ์ในรัชสมัย ฮ่องเต้ฮั่นหลิวจ้วน เป็นผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภายใต้การบงการของขุนนางขันที จีน ในขณะที่ ฮ่องเต้ มีพระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา คือเหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๘๘ หลังจากที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ทำสงครามขับไล่ชนชาติทมิฬโจฬะ ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ เรียบร้อยแล้ว สงครามโพกผ้าเหลือง จึงขยายตัวในดินแดน มหาอาณาจักรจีน อย่างกว้างขวาง ขุนนางจีน ผู้นิยมลัทธิขงจื๊อ จึงเร่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต เพื่อลดความรุนแรง ของ สงครามโพกผ้าเหลือง มีบันทึกเรื่องราวดังกล่าว ได้กล่าวถึง สหราชอาณาจักรเทียนสน จดหมายเหตุจีนดังกล่าว มีบันทึกตอนหนึ่ง ดังนี้..

"..สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลที่มีภูเขาอันขรุขระ สูงๆ ต่ำๆ ราชธานีของ สหราชอาณาจักรเทียนสน(ยะลา) ตั้งอยู่ห่างจากทะเลประมาณ ๑๐ ลี้ (ประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร) สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ยังมี ราชาปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ที่สำคัญ อีก ๕ พระองค์

ประเทศต่างๆ ล้วนต่างมาติดต่อค้าขายกับ สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ทั้งท่าเรือทางฝั่งทะเลทิศตะวันออก และท่าเรือทางฝั่งทะเลทิศตะวันตก วันหนึ่งๆ มีผู้คนมาค้าขายนับเป็นหมื่นคน ทั้งนี้เพราะ เมืองท่าต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ตั้งอยู่ตรงอ่าวโค้ง และเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล(แหลมมาลายู) มีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐๐๐ ลี้ (๕๗๖ กิโลเมตร) เรือสำเภาค้าขายจะเล่นตัดผ่านไปโดยไม่ขออนุญาตมิได้(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ และ ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า) ทำให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน กลายเป็นแหล่งการค้า สิ่งของมีค่า และหายาก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดการค้าของเมืองท่า เหล่านี้

ราชาของ แว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ประชาชนมักจะเรียกพระนามนำหน้า ว่า คุณหลวง(ขุนหลวง) ในราชธานี(เมืองเทียนสน-ยะลา) มีชาวหูหลำ (เกาะไหหลำ) อาศัยอยู่ประมาณ ๕๐๐ ครอบครัว มีพระพุทธรูปอยู่ ๑ องค์(พระพุทธสิหิงค์) และมีพวกพราหมณ์แต่งชุดขาวอาศัยอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ คน  ประชาชนในราชธานี(เมืองเทียนสน ยะลา) นิยมศึกษาหลักธรรม(พระพุทธศาสนา) พวกพราหมณ์(ชีพราหมณ์) ไม่ยอมโยกย้ายไปอยู่ที่แห่งใด  พวกเขา(นาค ซึ่งต้องบวชชีพราหมณ์ก่อนบวชเป็นพระภิกษุ) จะไม่ทำการงานอย่างใด นอกจากจะต้องศึกษาท่องบ่น คัมภีร์ต่างๆ เท่านั้น ชาวเมืองนครหลวง อาบน้ำชำระกายด้วยเครื่องหอม แล้วทำการท่องบ่น บทสวดมนต์ต่างๆ ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน..."

ยังมีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต ของ ประชาชน ในดินแดนของ ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน จดหมายเหตุจีน ได้บันทึก มีเนื้อหาดังกล่าว แปลความได้ว่า..

"...เมื่อประชาชนในเมืองราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เกิดเจ็บป่วยหนัก จากโรคระบาด และไม่สามารถรักษาให้หายได้ พวกเขามักจะแสดงความปรารถนา ให้นำผู้เจ็บป่วยออกไปนอกเมือง พร้อมกับมีคนร้องเพลงและฟ้อนรำ เพื่อทดลองนำไปวางให้นกกิน นกจะมาจิกกินผู้เจ็บป่วยเหล่านั้น หลังจากนั้นจะนำไปเผา นำกระดูกที่เหลือไปใส่ไห พร้อมกับนำไปทิ้งในทะเล แต่ถ้านกไม่ยอมจิกกินผู้ป่วย ผู้ป่วยก็มีทางเลือกสองทาง คือ เลือกเข้าไปนั่งในตะกร้า เพื่อนำไปเผาทั้งเป็น หรือเลือกกระโจนลงไปในกองไฟด้วยตนเอง หลังการเผาผู้เจ็บป่วย เถ้าถ่านจะเก็บใส่ไหเล็กๆ เพื่อนำไปฝังดิน ส่วนกระดูก จะนำไปบำเพ็ญกุศลต่อ โดยไม่มีกำหนดเวลาการสิ้นสุด..."

ไม่มีหลักฐานว่า สหราชอาณาจักรเทียนสน ส่งคณะราชทูต ไปยังประเทศจีน แต่ หลักฐานประวัติศาสตร์ของจีนบันทึกว่า หลังจากคณะราชทูตจีน เดินทางมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียนสน เมื่อปี พ.ศ.๖๘๘ แล้ว ขันที ขุนนางจีนชื่อ หว่างหมัง ไม่พอใจการกระทำของฮ่องเต้ มาก จึงเป็นผู้ลอบวางยาพิษ ฮ่องเต้ฮั่นจีตี้ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๑๓ พรรษา แล้วเชิด ฮ่องเต้ฮั่นหวนตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๖๘๙ เพราะ คณะราชทูต ของ ประเทศจีน ไม่ประสบความสำเร็จ ที่จะทำให้ สหราชอาณาจักรเทียน ยุติการสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ที่ยังดำรงค์อยู่ ในประเทศจีน กลุ่มขุนนางขันทีจีน จึงได้มีอำนาจเหนือ ฮ่องเต้จีน พระองค์ต่อๆ มา อย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ ฮ่องเต้หลิงตี้นี้ นั้น ได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ในหมู่ขุนนางจีน เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ประเทศจีนต้องแตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(ขุนเชน) แห่ง สหราชอาณาจักรเทียนสน ถือโอกาส ช่วงเวลาดังกล่าว ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การบริหารงาน การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ให้มีความมั่นคง ยิ่งขึ้น และเป็นที่มาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของอาณาจักรชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ โดย ขุนเทียน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

ขุนเทียน ทำสงคราม ๒๘ เปื้อน ที่ ทุ่งพระยาชนช้าง เมืองครหิต(คันธุลี) พ.ศ.๖๙๑

       ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ต่างๆ ในท้องที่รอบๆ ทุ่งพระยาชนช้าง ล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ ซึ่งเรียกกันว่า สงคราม ๒๘ เปื้อน โดยเฉพาะ ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ ภูเขาภิกษุ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นชื่อ ภูเขาชวาลา มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ก่อนที่จะมีการทำ สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ ระหว่าง พระเจ้ามังเคร แห่ง กลิงค์รัฐ กับ ขุนเทียน มหาราชาแห่ง อาณาจักรชวาทวีป ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน นั้น ภูเขาภิกษุ คือที่ตั้งสำนักสงฆ์ แห่งแรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่เมื่อ พระเจ้ามังเคร กษัตริย์ชนชาติกลิงค์ ได้ส่งกองทัพจาก เกาะชวา เข้ายึดครอง แคว้นชวากะรัฐ หรือ แคว้นกลิงค์รัฐ เป็นผลสำเร็จ พระเจ้ามังเคร ก็พยายาม ขับไล่ พระภิกษุ ออกจากภูเขาภิกษุ แต่ พระภิกษุ ยืนหยัดอย่างมั่นคง ไม่ยอมทิ้ง ภูเขาภิกษุ

       ความเดิม มีเรื่องราวตำนาน กล่าวว่า เจ้าชายมังเคร เป็นพระราชโอรส ของ กษัตริย์ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดน หมู่เกาะพระกฤต หรือเกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงมอญ แห่ง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าหญิงอีสาน เนื่องจาก เจ้าชายมังเคร เคยเป็นพ่อค้าคนกลาง เล่นเรือสำเภาค้าขายอยู่กับ ประเทศจีน และ ประเทศอินเดีย จึงได้รับการติดต่อจากคณะราชทูต ของจีน อย่างลับๆ ในขณะที่เกิด กองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดนประเทศจีน ให้เข้าไปแย่งชิงราชสมบัติ ของกษัตริย์ แคว้นชวากะรัฐ โดยอ้างสิทธิ์ที่ได้อภิเษกสมรส กับ พระนางมอญ เพื่อดึงกองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ออกจากการสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ที่กำลังต่อสู้แย่งชิงดินแดนกลับคืน อยู่ในประเทศจีน

       แผนการของ ประเทศจีน ประสบความสำเร็จ เมื่อ เจ้าชายมังเคร ยกกองทัพเข้ายึดอำนาจ ของ กษัตริย์แคว้นชวากะรัฐ เป็นผลสำเร็จ สามารถจับกษัตริย์แคว้นชวากะรัฐ ไปสำเร็จโทษ แล้วประกาศตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า พระเจ้ามังเคร โดยไม่ขึ้นต่ออำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน พร้อมกับ เปลี่ยนชื่อ แคว้นชวากะรัฐ เป็น กลิงครัฐ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๗๘-๖๗๙ ซึ่ง ขณะนั้น สหราชอาณาจักรเทียนสน ยังคิดว่า เป็นความขัดแย้งภายใน ระหว่าง พ่อตา กับ ลูกเขย แม่ว่า จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมๆ กับการที่ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ยกกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ทางฝั่งทะเลตะวันตก แล้วตั้ง รัฐเวียตบก ขึ้นมาบริเวณ ภูเขาพระนารายณ์ ตามที่กล่าวมาแล้ว

       ต่อมา พฤติกรรม ชัดเจนขึ้น เมื่อ พระเจ้ามังเคร จาก กลิงครัฐ(คันธุลี) ได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นรามัญ(ระนอง) ซึ่งเป็นแว่นแคว้นที่เกิดขึ้นจากการผสมเผ่าพันธุ์ ระหว่าง ชนชาติกลิงค์ กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ มาในอดีต และได้มาอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน โดยพระเจ้ามังเคร สามารถทำสงครามครอบครอง แคว้นรามัญ เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับ ได้ถือโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งกองทัพเรือจากท้องที่ภูเขาพระนารายณ์ จ.พังงา-ระนอง ในปัจจุบัน เข้ายึดครอง แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่ง ทางฝั่งทะเลทิศตะวันตก เพื่อยึดครองเป็นท่าเรือทางการค้า ของชนชาติกลิงค์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๗๘-๖๗๙ จนกระทั่ง กองทัพ ของ แคว้นตาโกลา(ตรัง) ต้องทำสงครามขับไล่ มาแล้ว พร้อมๆ กับการทำสงครามปราบปราม รัฐเวียตบก แต่ช่วงเวลาดังกล่าว กลิงค์รัฐ ยังไม่ถูกปราบปราม เพราะขณะนั้น สหราชอาณาจักรเทียนสน มีสงคราม เกิดขึ้น ทั่วทั้ง สหราชอาณาจักร

       ก่อนเกิด สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ได้เคยพยามส่งคณะราชทูต นำพระราชสาสน์ ไปส่งให้กับ พระเจ้ามังเคร แห่งกลิงค์รัฐ ให้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ สหราชอาณาจักรเทียนสน โดยดี แต่ถูกท้าทายให้มาทำสงครามกันที่ ทุ่งพระยาชนช้าง ซึ่งขณะนั้น พระเจ้ามังเคร ใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงช้าง เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ออกผนวช เพราะไม่อยากให้มือเปื้อนเลือด อีกต่อไป ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี(ขุนเชน) ขึ้นครองราชย์สมบัติ และได้มีความสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศจีน และ รัฐของชนชาติกลิงค์ ในหมู่เกาะพระกฤต(เกาะชวา) อย่างลับๆ มิให้สนับสนุน พระเจ้ามังเคร แห่งกลิงครัฐ เรียบร้อยแล้ว เพื่อมิให้สงคราม ขยายตัวลุกลาม ออกไป มากขึ้น

       ก่อนเกิดสงครามนั้น มหาราชาขุนเทียน แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงพนมสายรุ้ง ได้ส่งพระภิกษุ ไปจำศีลอยู่ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ เพราะมีชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่า ชวา ซึ่งตั้งรกรากมาแต่ดั้งเดิม พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อทำให้ชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่า ชวา หันมานับถือพระพุทธศาสนา มากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นผู้ให้ข่าวสาร แก่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ทำให้ พระเจ้ามังเคร แห่งกลิงค์รัฐ ในขณะนั้น พยายามขับไล่พระภิกษุ ที่สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ให้ออกจากพื้นที่ หลายครั้งหลายคราว แต่พระภิกษุ กลับยืนหยัด เผยแพร่พุทธศาสนาอย่างมั่นคง โดยไม่ยอมล่าถอย แม้จะถูกขับไล่ และถูกกลั่นแกล้ง ต่างๆ นาๆ ประชาชน ชาวชวาทวีป ก็เป็นโล่ป้องกันให้กับ พระภิกษุ โดยตลอด

       ต่อมา ขุนเทียน ได้ส่งคณะราชทูต ไปเข้าเฝ้า พระเจ้ามังเคร อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้ามังเคร ตอบพระราชสาสน์ ส่งกลับคืนไปว่า "...ถ้าอยากให้ กลิงค์รัฐ เป็นรัฐ ในการปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียนสน แล้ว ให้ส่งกองทัพช้าง มาทำสงครามชนช้างแข่งกัน ณ ทุ่งเลี้ยงช้าง คันธุลี หากมหาราชาขุนเทียน สามารถทำสงครามชนช้างชนะ จะยอมนำ กลิงค์รัฐ ไปขึ้นต่อการปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ตามข้อเสนอ เช่นเดิม.." เป็นที่มาให้ ขุนเทียน ส่งพระราชสาสน์ รับคำท้าทาย สงครามทุ่งพระยาชนช้างครั้งที่ ๑ หรือ เรียกกันว่า สงคราม ๒๘ เปื้อน จึงเกิดขึ้นทันที

       ตามตำนานนิทานพื้นบ้าน ทุ่งพระยาชนช้าง ท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เล่าเรื่อง สงคราม ๒๘ เปื้อน คือ สงครามที่ทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ โดยสรุปว่า ขุนเทียน มีแผนการรบที่ยอดเยี่ยม สามารถชนะสงครามที่ทุ่งพระยาชนช้างในครั้งนั้น เป็นผลมาจากการวางแผนลวง ให้กองทัพช้าง ของ แคว้นพนมสายรุ้ง(พนม) , แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) , แคว้นโกสมพี(ไชยา) และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) ปลอมแปลงเป็นกองทัพช้าง ของ กลิงครัฐ แล้วนำลงเรือสำเภา ไปซุ่มซ่อนกำลังไว้ และยังนำชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่าชวา ที่เป็นไพร่พลของรัฐเจ้าอ้ายไต ให้ปลอมตัวเป็นทหารข้าศึกอีกด้วย แล้วสร้างข่าวลวง ให้เมืองต่างๆ ของแคว้นรามัญ ในสังกัดของข้าศึก ให้ส่งกองทัพช้างเดินทางไปร่วมทำสงคราม ให้น้อยที่สุด และยังลอบส่งกองทัพพลแม่นธนู ไปซ่อนตัวอยู่ที่ภูเขาคันธุลี เป็นจำนวนมาก อีกด้วย แผนของสงคราม ขุนเทียน วางแผนให้ข้าศึก ต้องหลบหนีไปรวมตัวกัน ณ ทุ่งชวา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของภูเขาคันธุลี เพื่อทำลายข้าศึก ด้วยลูกศรอาบยาพิษ ของ กองทัพพลธนู ณ ทุ่งชวา

       เมื่อถึงหมายกำหนดการนัดหมาย ในการทำสงครามชนช้าง ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ตามนัดหมายที่กำหนด ครั้งนั้น เมื่อเกิดสงครามชนช้างขึ้นมาจริง กองทัพช้าง ของ พระเจ้ามังเคร ถูกต้อนไปรวมตัวอยู่ที่ ทุ่งชวา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของภูเขาคันธุลี หรือทิศตะวันออก ของ ทุ่งพระยาชนช้าง ตามแผนการที่กำหนด กองทัพพลแม่นธนู จึงยิงธนู ลูกศรอาบยาพิษ เข้าใส่ กองทัพช้าง ของ พระเจ้ามังเคร ทำให้ ไพร่พลของ พระเจ้ามังเคร บาดเจ็บ ล้มตาย เป็นจำนวนมาก พระเจ้ามังเคร สวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้เกิดตำนานท้องที่ในเมืองคันธุลี และ รอบๆ เมืองคันธุลี จำนวนมาก

 

กำเนิดท้องที่ บ้านร้อยเรือน(บ้านรอยเรือน) พ.ศ.๖๙๑

เนื่องจาก สงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ นั้น มีกองทัพช้าง ของประเทศกลิงค์รัฐ จาก แคว้นรามัญ(ระนอง) ซึ่งเป็นเมืองขึ้น ของ ประเทศกลิงค์รัฐ มาร่วมทำสงคราม ด้วย เมื่อ ประเทศกลิงค์รัฐ พ่ายแพ้สงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ก็มีช้างศึก ของ แคว้นรามัญ ตกมัน และบาดเจ็บ ฝูงหนึ่ง ได้หลบหนีจาก ทุ่งพระยาชนช้าง มาพังบ้านเรือน ของประชาชน จนราบเรียบเป็นหน้ากลอง คงเหลือแต่ร่องรอยของเรือน เท่านั้น ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกด้วยสำเนียงภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ว่า "บ้านร้อยเรือน" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คำว่า บ้านร้อยเรือน หมายถึง บ้านร่องรอยของเรือน ในภาษาไทยภาคใต้ มิได้หมายถึงบ้าน ๑๐๐ หลัง ตามสำเนียงภาษาไทยภาคกลาง

 

กำเนิดชื่อท้องที่ พังงา พ.ศ.๖๙๑

ฝูงช้างตกมันฝูงหนึ่ง จากทุ่งพระยาชนช้าง ได้เดินทางต่อไป ยังท้องที่ แคว้นเวียตบก(พังงา) ในปัจจุบัน พร้อมกับได้ใช้งาช้าง เข้าพังบ้านเรือน ของชนชาติรามัญ แทบทุกหลัง จนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า พังด้วยงา หรือ พังงา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ต่อมา ขุนเทียน ได้ส่งเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เข้าปกครองดินแดนทั้งหมดทางชายฝั่งทะเลตะวันตก พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อแว่นแคว้น ต่างๆ ขึ้นมาใหม่

ขุนเทียน ได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นรามัญ ดั้งเดิม เป็น แคว้นปากคูหา(ระนอง) ส่วน แคว้นเวียตบก(เขาพระนารายณ์) หรือ ประเทศเวียตบก ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น แคว้นพังงา ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา จดหมายเหตุจีนเรียกแคว้นนี้ว่า "ปังงาอิน" หมายถึงดินแดนท้องที่ จ.พังงา ในปัจจุบัน นั่นเอง ส่วน แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) คงเป็น ชื่อเดิม ส่วน แคว้นรามัน(มะริด) ได้เปลี่ยนที่ตั้งใหม่ ไปตั้งอยู่ในท้องที่เมืองมะริด ในปัจจุบัน ตามที่กล่าวมาแล้ว แคว้นตาโกทุ่ง(ภูเก็ต) เป็นแว่นแคว้นใหม่ ที่เกิดขึ้น อีกแว่นแคว้นหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกด้วย

 

กำเนิด แคว้นรามัน ที่เมืองมะริด พ.ศ.๖๙๑

กลุ่มฝูงช้าง ตกมัน ซึ่งได้มาร่วม สงครามชนช้าง ณ ทุ่งพระยาชนช้าง จนเกิด สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ ดังกล่าว ยังได้เดินทางกลับตามเส้นทางเดิม มุ่งไปยัง แคว้นรามัญ(ระนอง) และ ประเทศเวียตบก(พังงา) เมื่อ ราชา ของ แคว้นรามัญ(ระนอง) พบเห็นช้างศึก พ่ายแพ้สงครามกลับมา ก็ตกใจ เกรงว่า กองทัพของ สหราชอาณาจักรเทียนสน จะส่งกองทัพเข้าโจมตี ซำ จึงรวบรวมไพร่พล อพยพหลบหนี เดินทางไปตั้งรกราก ที่ เมืองมะริด ในดินแดนพม่า ในปัจจุบัน ขุนเทียน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี พร้อมกับได้สร้าง แคว้นรามัน(มะริด) ขึ้นมาใหม่ อีกแว่นแคว้นหนึ่ง แล้วส่งสายราชวงศ์ ชนชาติอ้ายไต ของ แคว้นรามัน ดั้งเดิม เข้าปกครอง กลายเป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่ง ของ รัฐชวาทวีป

เนื่องมาจาก แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) ก่อนหน้านี้ กองทัพ ของ พระเจ้ามังเคร แห่ง ประเทศกลิงครัฐ ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี เป็นเหตุให้ ราชาแห่ง แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) ในขณะนั้น มีพระนามว่า ตาโกทุ่ง ได้อพยพไพร่พล ไปตั้งแว่นแคว้นขึ้นใหม่ ณ เกาะภูเก็ต เรียกว่า แคว้นตาโกทุ่ง(ตะกั่วทุ่ง) ได้ยกกองทัพ เข้ามายึดครอง แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) กลับคืน หลังจากทราบว่า ขุนเทียน ได้รับชัยชนะ ใน สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ เรียบร้อยแล้ว แคว้นตาโกทุ่ง(ภูเก็ต) จึงกลายเป็นแว่นแคว้นใหม่ ของ อาณาจักรชวาทวีป ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกแว่นแคว้นหนึ่ง ด้วย ขุนเทียน ได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นรามัญ ดั้งเดิม เป็น แคว้นปากคูหา(ระนอง) ส่วน แคว้นเวียตบก(เขาพระนารายณ์) หรือ ประเทศเวียตบก ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น แคว้นพังงา ตั้งแต่นั้นมา

 

เมืองครหิต(คันธุลี) หรือ เมืองกลิงครัฐ เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองช้างให้ พ.ศ.๖๙๑

ดินแดนท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เป็นดินแดนที่มีกระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล เคยมีชื่อว่า แคว้นคลองหิต(ครหิต) แคว้นสุวรรณภูมิ , แคว้นชวากะรัฐ , แคว้นกลิงครัฐ หลังสงครามทุ่งพระยาชนช้าง เมื่อ แคว้นกลิงครัฐ ถูกปราบปราม จนล่มสลายลง ดินแดนแห่งนี้ จึงถูก ขุนเทียน เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น "แคว้นช้างให้" เพื่อยกย่องเกียรติให้กับช้างศึก ซึ่งมีความสามารถทำศึก จนสามารถชนะสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง อย่างงดงาม

แคว้นช้างให้ ประกอบด้วย เมืองหนองหวาย(ท่าชนะ) เมืองไกลลาศ(บ้านดอนธูป) เมืองชวา(คันธุลี) เมืองสุวรรณมาลี(ภูเขาชวาลา) และ เมืองละแม(อ.ละแม จ.ชุมพร) ล้วนเป็นเมืองใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ หลังจากสงครามทุ่งพระยาชนช้าง สงครามขับไล่ชนชาติมอญ และชนชาตกลิงค์ ให้ออกไปจากแหล่งทองคำสำคัญ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จดหมายเหตุจีน ได้เรียกชื่อแคว้นช้างให้ ว่า "ฉางหาย" ในเวลาต่อมา

 

กำเนิด ชื่อท้องที่ เมืองหนองหวาย พ.ศ.๖๙๑

       หลังจาก ขุนเทียน ชนะสงครามที่ทุ่งพระยาชนช้าง พระเจ้ามังเคร สวรรคตในสงคราม พระนางมอญ อัครมเหสี ของ พระเจ้ามังเคร ได้ถวายตัวเจ้าหญิงอีสาน ให้เป็น พระชายา ของ ขุนเทียน อีกพระองค์หนึ่ง ขุนเทียน จึงนำเชลยศึก ของ แคว้นกลิงครัฐ มาขุดสระน้ำ แล้วนำเชลยศึก ไปตัดหวาย มาแช่น้ำในสระน้ำดังกล่าว เพื่อนำมาสร้างพระราชวัง ให้เป็นที่ประทับ ของ พระนางอีสาน ขึ้นรอบๆ สระหนองหวาย ขุนเทียน ได้สั่งให้เชลยศึกกลิงครัฐ นำก้อนหิน มาสกัดประดิษฐ์เป็นเทวรูป พระนางอีสาน ขึ้นที่หน้าพระราชวังที่ประทับ ข้างสระน้ำหนองหวาย ท้องที่รอบๆ สระหนองหวาย จึงกลายเป็น เมืองหนองหวาย ในช่วงเวลา ดังกล่าว และถูกเรียกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพเทวรูปมุกลึงค์พระนางอีสาน พบที่สระหนองหวาย ซึ่งเคยเป็นพระราชวังที่ประทับ ของ ขุนเทียน กับ พระนางอีสาน

ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่หลายแห่ง รอบๆ ทุ่งพระยาชนช้าง ล้วนมีเรื่องราวกล่าวถึง การสร้าง แคว้นช้างให้ ขึ้นมาในท้องที่ บริเวณทุ่งพระยาชนช้าง ท้องที่แรกคือ หนองหวาย คือท้องที่ ตลาดท่าชนะ ในปัจจุบัน ตัวหนองหวาย จริง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ สถานีรถไฟท่าชนะ อ.ท่าชนะ ในปัจจุบัน ท้องที่รอบๆ หนองหวาย คือสระน้ำขนาดใหญ่ แห่งหนึ่ง ซึ่งถูกขุดขึ้นมาโดยเชลยศึกสงคราม ชนชาติกลิงค์ เมื่อปี พ.ศ.๖๙๑ เพื่อนำหวายมาแช่น้ำ เพื่อนำมาใช้สร้างพระราชวัง ขึ้นมาในท้องที่ดังกล่าว เรียกว่า พระราชวังหนองหวาย เพื่อใช้เป็นที่ประทับให้กับ พระนางอีสาน ซึ่งเป็นพระชายา พระองค์หนึ่ง ของ ขุนเทียน เสด็จมาประทับ ยังพระราชวังหนองหวาย เป็นครั้งคราว อีกด้วย ท้องที่พระราชวังหนองหวาย จึงมี เทวรูป มุกลึงค์ พระนางอีสาน สร้างไว้ในท้องที่ดังกล่าว ด้วย

 

กำเนิด ชื่อท้องที่ เมืองละแม พ.ศ.๖๙๑

เมืองละแม เป็นเมืองหนึ่ง ของ แคว้นช้างให้ มีเรื่องราวความเป็นมาจากตำนานของคำไตคำว่า "เด็กกำพร้า" มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อเกิดสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ หรือสงคราม ๒๘ เปื้อน ขึ้นมานั้น กองทัพของข้าศึก พระเจ้ามังเคร เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และต้องพ่ายแพ้สงคราม จึงเกิดเด็กกำพร้าชนชาติกลิงค์ ทั้งพ่อ ทั้งแม่ ขึ้นมาในท้องที่รอบๆ ทุ่งพระยาชนช้าง เป็นจำนวนมาก ในยุคสมัยนั้น เด็กกำพร้า จะถูกเรียกชื่อว่า "เด็กละแม่" ซึ่งในสำเนียงภาษาท้องถิ่นภาคใต้ จะพูดว่า "เด็กละแม" หรือในภาษาภาคกลางว่า "เด็กละแม่" หมายถึง "เด็กกำพร้า" ตามความหมายในปัจจุบัน ผลของสงครามครั้งนั้น เป็นที่มาให้ ขุนเทียน ต้องนำเด็กกำพร้า ดังกล่าว ไป ตั้งโรงเรือนเลี้ยงดู ในท้องที่ "บ้านละแม" ภายหลังสงครามครั้งนั้น ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า บ้านละแม คือท้องที่ อ.ละแม จ.ชุมพร ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

 

ความเป็นมาของชื่อ เด็กกำพร้า พ.ศ.๖๙๑

ตำนานความเป็นมาของคำไทย คำว่า เด็กกำพร้า , ลูกขี้พร้า , ผล , ผลฟักเขียว และ ขนมกันละแม ล้วนมีผลมาจากการสร้าง เมืองละแม ของ แคว้นช้างให้ เป็นสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า ของนักรบชนชาติกลิงค์ ทั้งสิ้น มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ เด็กละแม่(เด็กไม่มีพ่อแม่) ที่กล่าวมา เติบโตขึ้น จนสามารถใช้มือกำมีดพร้า ได้ จึงถูกเรียกว่า "เด็กกำพร้า" ซึ่งสามารถใช้มีดพร้า เป็นเครื่องมือการผลิต สามารถปลูก ต้นขี้พร้า(ต้นฟักเขียว) คือพืชล้มลุก ซึ่งเด็กกำพร้า ถูกบังคับให้ต้องไปขี้ใส่โคนต้น จากผลของการใช้มีดพร้า ไปขุดหลุมฝังขี้ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ของพืชล้มลุก ดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้ถูกเรียกชื่อว่า ต้นขี้พร้า(ต้นฟักเขียว) และเมื่อได้รับผล จึงเรียกว่า ลูกขี้พร้า(ผลฟักเขียว) ซึ่งหมายถึง ผลผลิตที่ได้จาก เด็กกำพร้า ที่ใช้มีดพร้า ไปขุดหลุมเพื่อขี้ใส่ แล้วกลบ เพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวมวล นั่นเอง

เนื่องจากคำว่า ต้นขี้พร้า และ ลูกขี้พร้า เป็นคำที่ไม่สุภาพ ต่อมา เจ้าหญิงพิกุล ซึ่งเป็นพระราชธิดา พระองค์หนึ่ง ของ ขุนเทียน ได้รับมอบหมายให้ไปดูแล สถานสงเคราะห์เลี้ยงเด็กกำพร้า เมืองละแม กลุ่มนางสนองพระโอษฐ์ทั้งหลาย ร้องเรียนเจ้าหญิงพิกุล ว่า คำเรียก ต้นขี้พร้า และ ลูกขี้พร้า เป็นคำที่ไม่สุภาพ เพราะมีคำว่า "ขี้" อยู่ด้วย เจ้าหญิงพิกุล จึงพระราชทานชื่อ ต้นขี้พร้า ในชื่อใหม่ว่า "ต้นฟักเขียว" และพระราชทานเปลี่ยนคำว่า "ลูก" ซึ่งถูกใช้เรียกนำหน้าผลผลิต ของ พืชล้มลุก เป็นชื่อใหม่ว่า "ผล" หมายถึงสิ่งที่ได้รับจากการทำการผลิต และพระราชทานชื่อใหม่จากคำว่า "ลูกขี้พร้า" เป็นชื่อใหม่ว่า "ผลฟักเขียว" ซึ่งเป็นคำไทย ที่ถูกใช้สืบทอด มาจนถึงปัจจุบัน

ยังมีตำนานความเป็นมาของการสร้าง แคว้นช้างให้ เกี่ยวกับความเป็นมาของคำไทย คำว่า "ร้องให้" และคำว่า "ขนมกันละแม" ซึ่งเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมนำไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ มีเรื่องราวความเป็นมาโดยสรุปว่า เจ้าหญิงพิกุล ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ขุนเทียน ให้ไปดูแล สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า เมืองละแม ผลปรากฏว่า เด็กกำพร้า มักจะ ร้องให้คร่ำครวญ คิดถึงแม่ เพราะแม่ มาเข้าฝัน เด็กกำพร้า อ้างว่า แม่ที่ล่วงลับไปแล้ว กำลัง อดยากหิวโหย และเรียกร้องต้องการอาหาร จากการร้องคำครวญ ของ เด็กกำพร้า ดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า "ร้องให้" เป็นคำไทย ที่ถูกใช้สืบทอด ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ผลของการร้องให้ ของเด็กกำพร้า ที่กล่าวมา เป็นที่มาให้ เจ้าหญิงพิกุล คิดสร้างขนมชนิดหนึ่ง มาฝึกให้เด็กกำพร้าช่วยกันจัดทำ เพื่อนำไปใช้ บวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณพ่อแม่ ผู้จากไป เพื่อมิให้เกิดมาในภพชาติหน้า จะต้องละจากแม่ อีกต่อไป จึงเรียกชื่อขนมดังกล่าวว่า "ขนมกันละแม่" ซึ่งถูกเรียกในภาษาท้องถิ่นภาคใต้ว่า "ขนมกันละแม" ซึ่งถูกนำไปใช้ในงานประเพณีต่างๆ ซึ่งมีความหมาย มิให้ลูกต้องละจากพ่อแม่ ทั้งสิ้น

ต่อมา ขนมกันละแม ถูกนำไปใช้ในพิธีการของงานแต่งงาน ของ เด็กกำพร้า เพื่อใช้ในการบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณพ่อแม่ มิให้ลูกๆ ที่เกิดมาในภายหลัง ต้องละจากพ่อแม่ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง ต่อมา ขนมกันละแม ถูกพัฒนา นำไปใช้ในงานพิธีกรรม สู่ขอหญิงสาวแต่งงาน เรียกว่า งานมั่น และ งานแต่งงาน จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีต่างๆ ซึ่งนิยมนำ ขนมกันละแม ไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ รวมไปถึง การใช้ในพิธีกรรม การบวงสรวงเซ่นไหว้บรรพชน พ่อแม่ ปู่ย่าตาทวด ผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่ถูกใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

กำเนิด เมืองโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ปี พ.ศ.๖๙๒

ผลของสงครามทุ่งพระยาชนช้างครั้งที่ ๑ หรือ สงคราม ๒๘ เปื้อน ครั้งนั้น เชลยศึก ชนชาติกลิงค์ อีกส่วนหนึ่ง ซึ่ง พระเจ้ามังเคร เพิ่งนำอพยพมาจาก เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) มาตั้งรกรากอยู่ที่ กลิงครัฐ(คันธุลี) ที่รอดชีวิต จะถูกจับเป็นเชลยศึก และถูกกวาดต้อน นำไปตั้งรกรากที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) อาณาจักรเทียนสน(ยะลา) แห่ง รัฐนาคนำ คำว่ามัง หมายถึงชนชาติกลิงค์ ที่เป็นผู้ชาย คำว่าอี หมายถึงชนชาติกลิงค์ ที่เป็นผู้หญิง คำว่ากา หมายถึงชนชาติกลิงค์ที่เป็นทั้งหญิง และชาย เชลยศึกผู้ชายกลิงค์ คือพวกมัง เป็นผู้สร้างเส้นทางสายยุทธศาสตร์ ชื่อ เส้นทาง "ทางสายมังลา" เริ่มต้นจาก หนองน้ำศักดิ์สิทธิ์(หนองสิทธิ์) มุ่งไปยัง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) กล่าวกันว่า เชลยศึกชนชาติกลิงค์ ที่เสียชีวิต ระหว่างการอพยพครั้งนั้น จะถูกฝังไว้ตลอดเส้นทางสายมังลา แล้วนำ กล้วยป่า มาปลูกไว้บนหลุมศพ กล้วยดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า กล้วยมังลา ต้นกล้วยป่า ดังกล่าว ได้เจริญงอกงามดีมาก เพราะได้ปุ๋ยธรรมชาติจาก ซากศพชนชาติกลิงค์ จึงถูกเรียกชื่อว่า กล้วยมังลา ได้แพร่พันธุ์ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

ขุนเทียน ได้กวาดต้อน นำเชลยศึก ชนชาติกลิงค์ ที่รอดชีวิต ให้ไปร่วมกันปลูกต้นโพธิ์ทอง ขึ้นที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) และให้ร่วมกันสาบาน มีคำมั่นสัญญาต่อกันว่า จะนับถือและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า หากเมื่อใด เชื้อสายเชลยศึก ชนชาติกลิงค์ หันไปนับถือศาสนาพราหมณ์ หรือไม่ปฏิบัติตามศีลห้า ก็ให้ชนชาติกลิงค์ ประสบแต่ความเสียหาย และมีภัยพิบัติ ตามที่ได้ร่วมสาบานกันไว้ เป็นที่มาให้ ชนชาติกลิงค์ ส่วนหนึ่ง หันมานับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา

ต่อมา ต้นโพธิ์ทองที่ชนชาติกลิงค์ ร่วมกันปลูกขึ้น ขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก ได้เจริญงอกงาม โดยไม่ตาย เป็นที่มาให้ ขุนเทียน พระราชทานชื่อ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) เป็นชื่อใหม่ ว่า แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๖๙๒ เป็นต้นมา จดหมายเหตุจีนจึงเรียกชื่อแคว้นนี้ในเวลาต่อมาว่า โฮลิง ซึ่งหมายถึงท้องที่ จ.ปัตตานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

กำเนิดชนชาติมอญ แคว้นกาละศีล รัฐของ ชนชาติมอญ ในดินแดนภาคอีสาน พ.ศ.๖๙๒

ผลของสงครามทุ่งพระยาชนช้างครั้งที่-๑ นั้น จึงถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของรัฐเจ้าอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เนื่องจาก กองทัพของ ขุนเทียน สามารถกวาดต้อนเชลยสงครามได้เป็นจำนวนมาก ทำให้เมืองลังกาสุกะ(ปัตตานี) เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองโพธิ์กลิงค์ ดินแดนภาคอีสานก็มีการเปลี่ยนแปลง เพราะ พระนางมอญ ต้องนำ เจ้าหญิงอีสาน และพวกราชวงศ์ ขุนนางมอญ พร้อมบ่าวไพร่ หลบหนีไปขอพึ่งบารมี จากพระภิกษุ ที่สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ให้ช่วยคุ้มครองราชวงศ์พระเจ้ามังเคร ให้มีชีวิตรอด มิให้ถูกสำเร็จโทษ ในข้อหากบฏ โดยได้ถวาย เจ้าหญิงอีสาน ให้กับ ขุนเทียน

ขุนเทียน ยอมรับการขอ บิณฑบาต ของพระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ ที่ร้องขอมิให้ฆ่าเชลยศึก ที่เป็นไพร่พล และเชื้อสายราชวงศ์พระเจ้ามังเคร ของ พระนางมอญ ซึ่งไปรวมตัวกันที่ภูเขาภิกษุ พระนางมอญ ได้ให้คำมั่นสัญญา และสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ ภูเขาภิกษุ และต่อหน้า ขุนเทียน ว่า “ชนชาติมอญ จะอยู่ร่วมกันกับ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างสันติ ถ้ายังก่อสงครามอีก ก็ให้ชนชาติตนเอง ได้รับกรรมตามสนอง ต้องพบกับความเดือดร้อน จนกระทั่งไม่มีผืนแผ่นดินที่จะใช้อยู่อาศัย ต่อไป ในอนาคต” พระนางมอญ ขออพยพไพร่พล ไปตั้งรัฐใหม่ ในดินแดนของ อาณาจักรนาคดิน

พระนางมอญ ได้สำนึกในบุญคุณ ของ พระภิกษุ ณ ภูเขาภิกษุ จึงได้เกิดความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา และเปลี่ยนจากการนับถือศาสนาพราหมณ์ หันมานับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา มหาราชาขุนเทียน จึงได้จัดกองทัพเรือ ให้พระภิกษุ นำ พระนางมอญ พร้อมพวกราชวงศ์มอญ พร้อมไพร่พลพระนางอีสาน เมืองหนองหวาย อพยพลงเรือ จากภูเขาภิกษุ เดินทางมุ่งหน้าสู่ อ่าวทะเลแม่โขง เพื่อให้ไปตั้งรกรากในพื้นที่ของ รัฐนาคดิน ในเวลาต่อมา เนื่องจากไพร่พล ของ พระนางมอญ ส่วนใหญ่ ล้วนเป็นชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่าชวา ซึ่งไม่อยากจากดินแดน ที่เคยอยู่อาศัย ต่างร่วมกันร้องให้ อย่างอาลัย ก่อนจากไปจาก ภูเขาภิกษุ เป็นที่มาให้ ขุนเทียน พระราชทานชื่อ ภูเขาภิกษุ เป็นชื่อใหม่ ว่า ภูเขาชวาลา เพื่อเป็นที่ระลึกถึง ขนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่า ชวา ที่ต้องจากไปยังดินแดน รัฐนาคดิน คือดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ภาคอีสาน ของ ประเทศไทย ในปัจจุบัน นั่นเอง

เมื่อ พระนางมอญ และ พระนางอีสาน พร้อมไพร่พล ได้อพยพจาก ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) และ เมืองหนองหวาย ไปตั้งรกราก ณ รัฐนาคดิน เพื่อสร้างแว่นแคว้น ขึ้นปกครอง โดย ขุนเทียน ได้พระราชทานชื่อแคว้นว่า แคว้นอีสานปุระ เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระนางอีสาน ซึ่งเป็นพระชายา อีกพระองค์หนึ่ง ของ ขุนเทียน ท้องที่ แคว้นอีสาน นั้น ครั้งแรก ตั้งอยู่ในท้องที่ จ.กาฬสินธุ์ ในปัจจุบัน โดยมีพระภิกษุ ที่ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ได้เดินทางติดตามไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ด้วย ขุนเทียน ได้พระราชทาน ชื่อชาติพันธุ์ ของกลุ่มไพร่พล ของ พระนางมอญ และ พระนางอีสาน ว่า "ชนชาติมอญ" ซึ่งเรียกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ พระนางมอญ และ พระนางอีสาน นำไพร่พลไปสร้าง แคว้นอีสาน ขึ้นมาใหม่ จนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมา ไพร่พลในแว่นแคว้น ของ พระนางอีสาน มักจะละเลย ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศีลห้า ที่กำหนด ชนชาวไตจึงเรียกชื่อ แคว้นอีสาน กรุงกาละศีล หมายถึงชนชาติกลิงค์ มีความหมายว่าเป็น นกกา ไม่ปฏิบัติตามศีลห้า เรียกว่า กาละศีล คือที่มาของชื่อท้องที่ จ.กาฬสินธุ์ ในปัจจุบัน นั่นเอง

       ต่อมาชนชาติมอญ แคว้นอีสาน กรุงกาละศีล ได้ขยายออกไปเป็นหลายแว่นแคว้น ครอบคลุมดินแดนภาคอีสาน เกือบทั้งหมด กลายเป็นอาณาจักรใหญ่ ของ ชนชาติมอญ เรียกชื่อว่า อาณาจักรอีสานปุระ ในเวลาต่อมา และพยายามทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง จึงเกิดสงครามกับชนชาติอ้ายไต อย่างต่อเนื่อง

 

แผนที่ทุ่งพระยาชนช้าง สถานที่ชนช้าง ระหว่างขุนเทียน กับ พระเจ้ามังเคร

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

ชัยวลัญช์ ธนาเกียรติชาคร
ที่อยู่ : ๑๓๖ บ้านวังก้อง ถ.กะโรม ต.กำแพงเซา อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ :๘๐๒๘๐
มือถือ มือถือ;๐๘๘-๖๑๙-๕๖๒๙
อีเมล : chaiwalan.t@gmail.com
เว็บไซต์ : www.usakanae.com/index.php